ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รถไฟมา ประชาต้องร่วมใจ

ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเส้นทางรถไฟครอบคลุมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีเส้นทางการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายหลายระดับด้วยกัน อาทิ รถไฟวิ่งระหว่างเมืองสู่สนามบินเชื่อมต่อคนในประเทศสู่โลกกว้าง รถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อจังหวัดและภูมิภาค รถไฟในเมือง รถไฟระดับจังหวัด รถไฟวิ่งสู่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของภูมิภาค การคมนาคมด้วยรถไฟจึงเป็นเส้นเลือดหลักในการกระจายความเจริญไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ เชื่อไหมครับว่าแม้จะมีเส้นทางครอบคลุมขนาดนี้รถไฟของญี่ปุ่นยังมีการขยายออกไปอีกหลายเส้นทางเพื่อให้ประชาชนเดินทางได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

จังหวัดคุมะโมะโตะบนเกาะคิวชูทางตอนใต้ของประเทศเป็นตัวอย่างที่ดีของการเตรียมพร้อมของผู้คนสำหรับเรื่องนี้ ย้อนไปเมื่อก่อนปี 2009 ทันทีที่รู้ข่าวว่ารถไฟความเร็วสูงชินคันเซนกำลังจะมีเส้นทางวิ่งผ่านจังหวัดและเมืองแห่งนี้ หน่วยงานท้องถิ่นรวมถึงประชาชนไม่นิ่งเฉยนอนใจเพราะรู้ดีว่าจังหวัดของพวกเขากำลังจะเป็นแค่สถานีทางผ่าน ผู้คนจะไปท่องเที่ยวที่อื่นทั้งที่จังหวัดและเมืองคุมาโมะโตะมีแหล่งท่องเที่ยว สินค้าทางการเกษตร และของดีมากมาย
ชาวเมืองคุมาโมะโตะจึงให้ความสำคัญตั้งแต่การมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็นในการออกแบบเพื่อปรับปรุงสถานีรถไฟคุมาโมะโตะแห่งเดิมเพื่อรองรับการมาถึงของรถไฟชินคันเซน  สร้างจุดเด่นของพื้นที่สถานีเพื่อเชื่อมต่อนักท่องเที่ยวสู่แหล่งท่องเที่ยวได้ง่ายทั้งในเมืองและแหล่งนอกเที่ยวนอกเมือง รวมถึงจัดให้มีศูนย์จำหน่ายสินค้าขึ้นชื่อของเมือง
          แคมเปญส่งความสุขให้คนทั้งประเทศผ่านเจ้าหมีตัวดำแก้มแดง KUMAMON มาสคอตที่ถูกสร้างเพื่อเป็นสัญลักษณ์และตัวแทนของเมือง ทุกวันนี้ในญี่ปุ่นแทบไม่มีใครไม่รู้จักเจ้ามาสคอตตัวนี้ สินค้าที่ผลิตจากจังหวัดคุมาโมะโตะมักใช้ KUMAMON เป็นตัวโปรโมทสินค้า เชื่อไหมครับว่ามาสคอตตัวนี้ฮิตมาถึงบ้านเรา บัตรแรบบิทลาย KUMAMON ของรถไฟฟ้า BTS เปิดขายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ตอนนี้ขายหมดเกลี้ยง
แคมเปญส่งความสุขไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวคิดแต่หน่วยงานท้องถิ่นได้ทำงานอย่างหนักในการลงไปสู่ชุมชนต่าง ๆ สร้างทัศนคติของผู้คนเพื่อให้เมืองคุมะโมะโตะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความสุขอย่างแท้จริง
ทุกวันนี้จังหวัดคุมะโมะโตะกลายเป็นที่รู้จักของผู้คนทั้งในและนอกประเทศญี่ปุ่น มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมเยือนจังหวัดนี้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว สินค้าของจังหวัดกระจายขายได้ทั่วประเทศ เศรษฐกิจเติบโต เกิดแหล่งงานในชุมชน จุดเริ่มต้นมาจากเส้นทางรถไฟชินคันเซน แต่รถไฟเป็นเพียงยานพาหนะในการเชื่อมต่อนำความเจริญไปส่งเท่านั้น สำคัญที่สุดคือวิสัยทัศน์ ความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในท้องถิ่นอันนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงดังเช่นชาวคุมะโมะโตะ 
มนต์ชัย บุญยะวิภากุล 
IN FOCUS-April : Better City Better Living for Better Life

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # เมื่อเด็กถาปัตย์ต้องเขียนรายงาน

     การเขียนรายงานกับนักศึกษาสถาปัตย์ ถ้าเปรียบเทียบคงเหมือนสุภาษิตทีว่า งูเหลือมแพ้เชือกกล้วย ต่อให้ออกแบบดี เขียนรูปสวย ทำ 3D ขั้นเทพ แต่ก็มักจะแพ้ทางการเขียนรายงาน เคยมีคนกล่าวไว้ว่า หากเขียนในสิ่งที่รู้ออกมาไม่ได้ก็แปลว่ายังไม่สามารถรู้เรื่องนั้นอย่างแท้จริง และนี่เองนำไปสู่กระบวนการที่ทางทีมอาจารย์ ต้องการให้นักศึกษารู้จักประมวลผลในสิ่งที่ตนเองทำ โดยเฉพาะเรื่องของโครงสร้าง การออกแบบอะไรสักอย่างก็ควรจะมีที่มาที่ไป แนวคิดจนถึงเทคนิคและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง  จากบทความที่แล้ว ( # TRUSS & SPACE FRAME ) ได้กล่าวถึงการจัดทำโมเดล เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างช่วงพาดกว้าง และ กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างที่ปรึกษากับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในการสร้างสรรค์ออกแบบ โครงสร้าง TRUSS และ SPACE  FRAME  ว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมอะไรได้บ้าง คราวนี้เรามาดูรายงานในกระบวนการศึกษาที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้จัดทำ โดยสามารถคลิก DOWNLOAD รายงานฉบับเต็มของแต่ละชิ้นงานได้ตาม Link ที่อยู่ด้านล่างครับ           1. โครงสร...

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # TRUSS & SPACE FRAME

หากประโยคติดหูที่ว่า “Great Power Comes With Great Responsibility” ( พลังอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง ) ใครฟังก็ร้อง อ่อ นี่มันประโยคเด็ดของ คุณลุงเบน ลุงของสไปเดอร์แมนนี่เอง ประโยคเด็ดที่ว่า “Construction คือ ดีไซน์ ” ก็จัดเป็นประโยคเด็ดที่เหล่านักศึกษาสถาปัตย์ ม.รังสิต ได้ยินจนคุ้นหู และรู้ได้ทันทีว่าเป็นประโยคเด็ดของ อ.ชาลี ไกรฤกษ์ และนั่นก็เป็นแนวคิดที่ผมและทีมอาจารย์ทางสาย Construction พยายามปลูกฝังการคิดให้กับเหล่านักศึกษาชั้นปีที่4   โดยงานในครั้งนี้ได้ให้นักศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ จัดทำแบบจำลองโครงสร้าง TRUSS และ SPACE   FRAME   ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่คิดว่าโครงสร้าง   TRUSS นำไปใช้กับหลังคาโรงงานหรือใช้คลุมช่วงพาดกว้างเท่านั้น   จริงแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปทรงอาคาร สร้างที่ว่าง หรือทำโครงสร้างสะพาน และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบได้อย่างมากมาย และนี่เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของนักศึกษาที่นำมาเผยแพร่ครับ รูปบน: (รูป1) การนำ Space Frame มาสร้างพื้นที่ปกคลุมขนาดใหญ่โดยใช้เทคนิคการแผ่ออกจากฐาน น้ำหนักโค...

Mega-Scale Building Structural Systems (ARC348/2559)

เนื้อหาและรายละเอียดการสอนวิชา ARC348 Mega-Scale Building Structural Systems คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ช่วงพาดกว้าง และปานกลาง โดยใช้โครงสร้างผสมผสาน  เหล็ก และคอนกรีตเสริมเหล็ก การใช้คอนกรีตอัดแรงในการก่อสร้าง ระบบการก่อสร้างโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป ศึกษารายละเอียด และคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง การใช้เหล็กในการก่อสร้าง การต่อโครงสร้างเหล็ก วิธีการป้องกัน การผุกร่อน และการป้องกันไฟ Building construction focusing on steel and steel reinforced concrete in medium-long span building construction, pre-stressed concrete, pre-fabrication technology.  Study use of steel in building construction, building structures, joints and details, steel treatments and fire protections.   หัวข้องาน Assignment 1 . Long Span "GO" คลิก   Project 1. Experimental Design Truss & Space Frame คลิก Final Project : Bamboo Structure คลิก เอกสารประกอบการสอน Architects' Data Third Edition  คลิก เอกสารประกอบการสอน...