ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สวนไปทางไหน

    

          ย่านใจกลางเมืองกรุงเทพโดยเฉพาะบริเวณแนวรถไฟฟ้า ช่วงนี้มองไปทางไหนก็เห็นอาคารสูงแข่งกันขึ้นโครงการเต็มไปหมดส่วนใหญ่เป็นคอนโดมิเนียม ด้วยข้อจำกัดของราคาที่ดินทำให้รูปแบบที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่เปลี่ยนไปอยู่ร่วมกันทางแนวตั้งเหมือนเมืองใหญ่อีกหลายเมือง แต่สิ่งที่บ้านเราต่างและกำลังสวนกระแสกับเมืองใหญ่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว คือ การขาดพื้นที่ว่างของเมืองโดยเฉพาะสวนสาธารณะและพื้นที่สีเขียว 
ถ้าถามว่าทิศทางของสวนและพื้นที่สีเขียวในหลายๆ เมืองใหญ่ทั่วโลกไปทางไหนกัน ผมพอสรุปได้ว่า สวนไปทางแนวตั้ง และสวนไปทางแนวนอน
สวนแนวตั้ง ต้องลืมภาพว่าเอากระถางต้นไม้ไปเรียงหรือแขวนบนผนัง แต่เกิดจากความก้าวหน้าทางการออกแบบอาคารออกแบบให้รองรับการเติบโตของต้นไม้ สร้างระบบนิเวศให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชพรรณไม้บนอาคาร ครั้งหนึ่งมีโอกาสได้ไปเดินดู “ACROS Fukuoka Prefectural International Hall” เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ทำงานทางราชการ เป็นที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในระดับนานาชาติ ด้วยข้อจำกัดของการหาที่ดินทำให้อาคารนี้ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่สวนสาธารณะกลางเมือง Fukuoka แทนที่จะเสียพื้นที่สวนไปผู้ออกแบบก็นำสวนขึ้นไปเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร โดยออกแบบให้มีลักษณะเหมือนภูเขาที่มี 15 ชั้น โดยมีพื้นที่สวนถึง 100,000 ตารางเมตร มีพันธ์ไม้มากกว่า สวนแห่งนี้ได้กลายมาเป็นที่พักผ่อนของชาวเมือง และนักท่องเที่ยว 120 ชนิด และต้นไม้มากว่า 50,000 ต้น และสร้างนิเวศของสวนให้สามารถดูแลต้นเอง เช่นระบบการไหลเวียนของน้ำ
ปัจจุบันอาคารหลังนี้ถือเป็นแลนด์มาร์คของเมือง  



ประเทศฝรั่งเศสออกกฎหมายใหม่ที่กำหนดให้อาคารพาณิชย์ที่สร้างใหม่จะต้องมีหลังคาสีเขียวหรือ green roofs โดยข้อดีคือ ช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในตัวอาคาร ทำให้อาคารใช้พลังงานลดน้อยลงในการทำให้อาคารเย็นหรืออบอุ่น ช่วยเก็บน้ำฝน และต้นไม้ยังช่วยให้เมืองเย็นลง ประเทศสิงค์โปร บางพื้นที่เริ่มกำหนดให้ตึกสำนักงานต้องมีพื้นที่สีเขียวเทียบเท่ากับพื้นที่พัฒนาทั้งหมด โดยแทรกพื้นที่สวนไปริมระเบียงและบนดาดฟ้า


สวนแนวนอน เหมือนสวนสาธารณะที่เราพบเห็นแต่มีการคิดลึกซึ้งไปถึงการออกแบบให้มีความยั่งยืน มีการออกแบบให้สวนของเมืองเชื่อมต่อกับเครือข่ายเช่นเส้นทางเดิน เส้นทางจักรยาน ต่อเชื่อมไปสู่แหล่งที่อยู่อาศัยในรัศมีโดยรอบคล้ายกิ่งก้านของต้นไม้ที่แผ่ขยายออกไป ทำให้เกิดการใช้งานจริงและเข้าถึงง่าย ผู้คนก็อยากออกมาทำกิจกรรม มาออกกำลัง สุขภาพใจดี สุขภาพกายแข็งแรง ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่มีพื้นที่สวนและโครงข่ายก็มีมูลค่าสูงขึ้น เห็นไหมครับการมีพื้นที่สีเขียวช่วยเพิ่มมูลค่าของทรัพย์สินเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของเมือง 
มนต์ชัย บุญยะวิภากุล 
IN FOCUS-Mar : Better City Better Living for Better Life

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # เมื่อเด็กถาปัตย์ต้องเขียนรายงาน

     การเขียนรายงานกับนักศึกษาสถาปัตย์ ถ้าเปรียบเทียบคงเหมือนสุภาษิตทีว่า งูเหลือมแพ้เชือกกล้วย ต่อให้ออกแบบดี เขียนรูปสวย ทำ 3D ขั้นเทพ แต่ก็มักจะแพ้ทางการเขียนรายงาน เคยมีคนกล่าวไว้ว่า หากเขียนในสิ่งที่รู้ออกมาไม่ได้ก็แปลว่ายังไม่สามารถรู้เรื่องนั้นอย่างแท้จริง และนี่เองนำไปสู่กระบวนการที่ทางทีมอาจารย์ ต้องการให้นักศึกษารู้จักประมวลผลในสิ่งที่ตนเองทำ โดยเฉพาะเรื่องของโครงสร้าง การออกแบบอะไรสักอย่างก็ควรจะมีที่มาที่ไป แนวคิดจนถึงเทคนิคและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง  จากบทความที่แล้ว ( # TRUSS & SPACE FRAME ) ได้กล่าวถึงการจัดทำโมเดล เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างช่วงพาดกว้าง และ กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างที่ปรึกษากับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในการสร้างสรรค์ออกแบบ โครงสร้าง TRUSS และ SPACE  FRAME  ว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมอะไรได้บ้าง คราวนี้เรามาดูรายงานในกระบวนการศึกษาที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้จัดทำ โดยสามารถคลิก DOWNLOAD รายงานฉบับเต็มของแต่ละชิ้นงานได้ตาม Link ที่อยู่ด้านล่างครับ           1. โครงสร...

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # TRUSS & SPACE FRAME

หากประโยคติดหูที่ว่า “Great Power Comes With Great Responsibility” ( พลังอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง ) ใครฟังก็ร้อง อ่อ นี่มันประโยคเด็ดของ คุณลุงเบน ลุงของสไปเดอร์แมนนี่เอง ประโยคเด็ดที่ว่า “Construction คือ ดีไซน์ ” ก็จัดเป็นประโยคเด็ดที่เหล่านักศึกษาสถาปัตย์ ม.รังสิต ได้ยินจนคุ้นหู และรู้ได้ทันทีว่าเป็นประโยคเด็ดของ อ.ชาลี ไกรฤกษ์ และนั่นก็เป็นแนวคิดที่ผมและทีมอาจารย์ทางสาย Construction พยายามปลูกฝังการคิดให้กับเหล่านักศึกษาชั้นปีที่4   โดยงานในครั้งนี้ได้ให้นักศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ จัดทำแบบจำลองโครงสร้าง TRUSS และ SPACE   FRAME   ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่คิดว่าโครงสร้าง   TRUSS นำไปใช้กับหลังคาโรงงานหรือใช้คลุมช่วงพาดกว้างเท่านั้น   จริงแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปทรงอาคาร สร้างที่ว่าง หรือทำโครงสร้างสะพาน และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบได้อย่างมากมาย และนี่เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของนักศึกษาที่นำมาเผยแพร่ครับ รูปบน: (รูป1) การนำ Space Frame มาสร้างพื้นที่ปกคลุมขนาดใหญ่โดยใช้เทคนิคการแผ่ออกจากฐาน น้ำหนักโค...

Mega-Scale Building Structural Systems (ARC348/2559)

เนื้อหาและรายละเอียดการสอนวิชา ARC348 Mega-Scale Building Structural Systems คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ช่วงพาดกว้าง และปานกลาง โดยใช้โครงสร้างผสมผสาน  เหล็ก และคอนกรีตเสริมเหล็ก การใช้คอนกรีตอัดแรงในการก่อสร้าง ระบบการก่อสร้างโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป ศึกษารายละเอียด และคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง การใช้เหล็กในการก่อสร้าง การต่อโครงสร้างเหล็ก วิธีการป้องกัน การผุกร่อน และการป้องกันไฟ Building construction focusing on steel and steel reinforced concrete in medium-long span building construction, pre-stressed concrete, pre-fabrication technology.  Study use of steel in building construction, building structures, joints and details, steel treatments and fire protections.   หัวข้องาน Assignment 1 . Long Span "GO" คลิก   Project 1. Experimental Design Truss & Space Frame คลิก Final Project : Bamboo Structure คลิก เอกสารประกอบการสอน Architects' Data Third Edition  คลิก เอกสารประกอบการสอน...