การเขียนรายงานกับนักศึกษาสถาปัตย์ ถ้าเปรียบเทียบคงเหมือนสุภาษิตทีว่า งูเหลือมแพ้เชือกกล้วย ต่อให้ออกแบบดี เขียนรูปสวย ทำ 3D ขั้นเทพ แต่ก็มักจะแพ้ทางการเขียนรายงาน เคยมีคนกล่าวไว้ว่า หากเขียนในสิ่งที่รู้ออกมาไม่ได้ก็แปลว่ายังไม่สามารถรู้เรื่องนั้นอย่างแท้จริง และนี่เองนำไปสู่กระบวนการที่ทางทีมอาจารย์ ต้องการให้นักศึกษารู้จักประมวลผลในสิ่งที่ตนเองทำ โดยเฉพาะเรื่องของโครงสร้าง การออกแบบอะไรสักอย่างก็ควรจะมีที่มาที่ไป แนวคิดจนถึงเทคนิคและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง จากบทความที่แล้ว (# TRUSS & SPACE FRAME) ได้กล่าวถึงการจัดทำโมเดล
เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างช่วงพาดกว้าง และ กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างที่ปรึกษากับนักศึกษาชั้นปีที่
4 ในการสร้างสรรค์ออกแบบ โครงสร้าง TRUSS
และ SPACE
FRAME ว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมอะไรได้บ้าง คราวนี้เรามาดูรายงานในกระบวนการศึกษาที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้จัดทำ โดยสามารถคลิก DOWNLOAD รายงานฉบับเต็มของแต่ละชิ้นงานได้ตาม Link ที่อยู่ด้านล่างครับ
1.โครงสร้าง TRUSS & SPACE FRAME การนำ Space Frame มาสร้างพื้นที่ปกคลุมขนาดใหญ่โดยใช้เทคนิคการแผ่ออกจากฐาน น้ำหนักโครงสร้างทั้งหมดจากด้านบนรวมลงสู่ด้านล่าง ณ จุดเดียว /การนำโครงสร้าง Truss มาคลุมพื้นที่ว่างระหว่างอาคารผลงานโดย ปิยนุช อินน้ำหอม ธาริน กาลสงค์
1.โครงสร้าง TRUSS & SPACE FRAME การนำ Space Frame มาสร้างพื้นที่ปกคลุมขนาดใหญ่โดยใช้เทคนิคการแผ่ออกจากฐาน น้ำหนักโครงสร้างทั้งหมดจากด้านบนรวมลงสู่ด้านล่าง ณ จุดเดียว /การนำโครงสร้าง Truss มาคลุมพื้นที่ว่างระหว่างอาคารผลงานโดย ปิยนุช อินน้ำหอม ธาริน กาลสงค์
DOWNLOAD TRUSS STRUCTURE DOWNLOAD SPACE FRAME
2.โครงสร้าง TRUSS & SPACE FRAME ออกแบบสะพานโดยใช้ โครงสร้าง Space Truss ขนาดใหญ่ทำหน้าที่แขวนโครงสร้างถนน (รูปขวา) นำโครงสร้าง Space Frame มาปกคลุมฟังค์ชั่นการใช้งาน ผลงานโดย นายวรรณชนะ ศุภดล นางสาวสรยา พินิจผล นางสาวภัทรวิจิตราสุบรรณ ณ อยุธยา
3.โครงสร้าง TRUSS & SPACE FRAME ออกแบบโครง Truss โดยได้แรงบันดาลใจจากแมงมุม วงแหวนตรงกลางสร้างแรงดึงและรั้งโครง Truss ประกอบกันขึ้นเป็นรูปทรงอาคาร / นำชุดโครงสร้าง Space Frame ต่อเติมจากโครงอาคารเดิมสร้างเสาโค้งมารับแรงทั้ง 4 จุด ผลงานโดย นางสาวขวัญพัฒน์ นิธินันท์ศุภกร นายลิปปกร ธัญญโยธิน นางสาวธนิตา กาญจนวิไล
4.โครงสร้าง TRUSS การนำ Space Truss มาใช้เทคนิค Twist ทำให้เกิดโครงสร้างของสะพานที่น่าสนใจ ผลงานโดย นายณัฐวุฒิ ทองทรง. นายชนะพงศ์ เรืองเดชบุญฤทธิ์ นายณัฐพงษ์ ยามูฮา
5.โครงสร้าง TRUSS ไอเดียการใช้ไม้มาทำเป็นโครงสร้างช่วงพาดกว้าง ผลงานโดย นายอภินัทธ์ ชาญชลสิทธิ์ นายธนาวุฒิ ชมชื่น นายณัฐวุฒิ จิตรคำ
**หมายเหตุ ไฟร์บางผลงานค่อนข้างใหญ่ต้องใช้เวลาโหลดครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น