ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ In Focus Japan

รถไฟมา ประชาต้องร่วมใจ

ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเส้นทางรถไฟครอบคลุมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีเส้นทางการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายหลายระดับด้วยกัน อาทิ รถไฟวิ่งระหว่างเมืองสู่สนามบินเชื่อมต่อคนในประเทศสู่โลกกว้าง รถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อจังหวัดและภูมิภาค รถไฟในเมือง รถไฟระดับจังหวัด รถไฟวิ่งสู่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของภูมิภาค การคมนาคมด้วยรถไฟจึงเป็นเส้นเลือดหลักในการกระจายความเจริญไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ เชื่อไหมครับว่าแม้จะมีเส้นทางครอบคลุมขนาดนี้รถไฟของญี่ปุ่นยังมีการขยายออกไปอีกหลายเส้นทางเพื่อให้ประชาชนเดินทางได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น จังหวัดคุมะโมะโตะบนเกาะคิวชูทางตอนใต้ของประเทศเป็นตัวอย่างที่ดีของการเตรียมพร้อมของผู้คนสำหรับเรื่องนี้ ย้อนไปเมื่อก่อนปี 2009 ทันทีที่รู้ข่าวว่ารถไฟความเร็วสูงชินคันเซนกำลังจะมีเส้นทางวิ่งผ่านจังหวัดและเมืองแห่งนี้ หน่วยงานท้องถิ่นรวมถึงประชาชนไม่นิ่งเฉยนอนใจเพราะรู้ดีว่าจังหวัดของพวกเขากำลังจะเป็นแค่สถานีทางผ่าน ผู้คนจะไปท่องเที่ยวที่อื่นทั้งที่จังหวัดและเมืองคุมาโมะโตะมีแหล่งท่องเที่ยว สินค้าทางการเกษตร และของดีมากมาย ชาวเมืองคุมาโมะโตะจึงให้ความสำคั...

สวนไปทางไหน

               ย่านใจกลางเมืองกรุงเทพโดยเฉพาะบริเวณแนวรถไฟฟ้า ช่วงนี้มองไปทางไหนก็เห็นอาคารสูงแข่งกันขึ้นโครงการเต็มไปหมดส่วนใหญ่เป็นคอนโดมิเนียม ด้วยข้อจำกัดของราคาที่ดินทำให้รูปแบบที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่เปลี่ยนไปอยู่ร่วมกันทางแนวตั้งเหมือนเมืองใหญ่อีกหลายเมือง แต่สิ่งที่บ้านเราต่างและกำลังสวนกระแสกับเมืองใหญ่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว คือ การขาดพื้นที่ว่างของเมืองโดยเฉพาะสวนสาธารณะและพื้นที่สีเขียว  ถ้าถามว่าทิศทางของสวนและพื้นที่สีเขียวในหลายๆ เมืองใหญ่ทั่วโลกไปทางไหนกัน ผมพอสรุปได้ว่า สวนไปทางแนวตั้ง และสวนไปทางแนวนอน สวนแนวตั้ง ต้องลืมภาพว่าเอากระถางต้นไม้ไปเรียงหรือแขวนบนผนัง แต่เกิดจากความก้าวหน้าทางการออกแบบอาคารออกแบบให้รองรับการเติบโตของต้นไม้ สร้างระบบนิเวศให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชพรรณไม้บนอาคาร ครั้งหนึ่งมีโอกาสได้ไปเดินดู “ ACROS Fukuoka Prefectural International Hall ” เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ทำงานทางราชการ เป็นที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในระดับนานาชาติ ด้วยข้อจำกัดของการหาที่ดินทำให้อาคารนี้ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่ส...

ทางปั่น ปั้นเรื่อง

ท่ามกลางอากาศหนาวแบบเลขตัวเดียวผมกำลังปั่นจักรยานบนสะพานเหนือทะเลในเส้นทาง   ฌิมะนะมิไคโดเส้นทางจักรยานที่ถูกจัดอันดับโดย CNN ให้เป็นเส้นทางขี่จักรยานที่ดีสุดแห่งหนึ่งของโลก เส้นทางเชื่อมระหว่างเมืองโอะโนะมิชิถึงเมืองอิมะบะริผ่านเกาะทั้งเจ็ด ปั่นข้ามสะพานทั้งหกที่ขนานไปกับทางด่วนสลับกับการปั่นบริเวณรอบเกาะระยะทางรวมกว่า 70 กิโลเมตร จุดเริ่มของเส้นทางจักรยานแห่งนี้เกิดจากหน่วยงานของรัฐต้องการตัดถนนเชื่อมระหว่างภูมิภาค ประชาชนจึงเสนอให้ทำทางจักรยานควบคู่กันไปด้วยเพื่อจะได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของประเทศ หน่วยงานของรัฐจึงได้เพิ่มทางสำหรับจักรยานบนสะพาน ส่วนบริเวณเส้นทางปั่นรอบแต่ละเกาะใช้วิธีตีเส้นสีฟ้าพร้อมบอกระยะทางจุดหมายปลายทางที่เหลือเราก็แค่ปั่นไปทางสีฟ้ารับรองไม่มีหลง แต่ละเกาะก็สร้างเรื่องราวชูของดีที่มีอยู่ อาทิแหล่งท่องเที่ยว หัตถกรรม งานศิลปะ สินค้าเกษตร ของกิน สร้างเป็นเรื่องราวให้ผู้คนสนใจ ร้านค้าแต่ละร้านเริ่มปรับตัวร้านค้าไหนยินดีให้นักปั่นแวะพักก็จะทำที่จอดจักรยาน เตรียมที่สูบลม หรือบริการห้องน้ำแก่นักปั่นปรากฏว่าได้ผลตอบรับดีเกินคาดจากนักท่องเ...

โกมิ (ゴミ)

เมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นศูนย์กลางทั้งการท่องเที่ยวและการค้า กำลังประสบปัญหาด้านการจัดการขยะเช่นเดียวกับเมืองใหญ่หลายๆ เมือง แต่ละวันเฉพาะเขตเทศบาลนครเชียงใหม่มีปริมาณขยะมากถึง 300 ตัน / วัน ปัญหาใหญ่คือไม่สามารถคัดแยกขยะหลังจัดเก็บได้เพื่อนำไปทำลายได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าทางเทศบาลเคยมีการร้องขอให้ประชาชนจัดระเบียบการทิ้งขยะให้ถูกต้อง โดยการคัดแยกขยะแต่ผลตอบลัพธ์ความร่วมมือนั้นไม่ค่อยดีนักอาจเป็นเพราะขยะแม้เป็นเรื่องใกล้ตัวแต่ทุกคนนั้นไม่เห็นคุณค่าผลลัพธ์และปัญหาที่ตามมาในอนาคต สาเหตุใหญ่น่าจะมาจากเมืองของเรายังไม่มีการสร้างความรู้ความเข้าใจและยอมรับอย่างต่อเนื่องกับคุณประโยชน์มหาศาลจากสิ่งที่เรียกว่าขยะ โกมิ ( ゴミ ) แปลว่า ขยะ เวลาผมพานักศึกษาไปทัศนศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่นผมมักเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับขยะ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีกระบวนการบริหารจัดการขยะได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกประชาชนส่วนใหญ่ถูกปลูกฝังว่าขยะเป็นความรับผิดชอบของทุกคนในสังคม เริ่มต้นตั้งแต่การคัดแยกขยะของทุกครัวเรือน กระบวนการเผาทำลายหรือฝังกลบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลผลิตที่ได้จากการกำจัดขยะสมารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมห...

สูงวัยอยู่ไม่ไกล

สูงวัยอยู่ไม่ไกล หลายท่านอาจเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด คือมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปเกิน 20% ของประชากรทั้งประเทศ ก่อนหน้านี้ผมได้ไปเยือนญี่ปุ่นหลายครั้ง พบผู้สูงอายุบ้างแต่ก็ไม่คิดว่าจะเยอะเหมือนกับที่เขาว่ากัน จนเมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปเยือนเมืองนากาโน่ ช่วงที่ไปเดินแถบย่านการค้าของเมืองถึงกับตกใจเมื่อพบว่าผู้ที่ออกมาเดินจับจ่ายใช้สอยล้วนเป็นผู้สูงอายุเกือบทั้งหมด แนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุสำหรับชาวญี่ปุ่นนั้นเน้นให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองเดินทางไปไหนด้วยตัวเองใช้ชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งพาบุตรหลานมากเกินไป  ครั้งหนึ่งยังจำได้ติดตา ณ เมืองโอซาก้า เห็นคุณปู่ท่านหนึ่งลงจากรถแท็กซี่ท่านแก่มากเดินก็ไม่ค่อยไหว ผู้คนแถวนั้นก็เดินผ่านไปอย่างเป็นเรื่องปกติ นี่เองเป็นภาพสะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่ผู้สูงวัยต้องอยู่ได้ด้วยตนเอง ที่เล่ามาฟังเหมือนผู้คนเขาใจจืดใจดำแต่จริงๆแล้ว สภาพแวดล้อมเกือบทุกอย่างของประเทศนี้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับผู้สูงอายุอย่างแท้จริงตั้งแต่เครื่องไม้ใช้สอยภายในบ้าน สุขภัณฑ์ระบบอัตโนมัติ ระบบขนส่งมวลชนที่สะดวก...