ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ยัง“ไหว”อยู่


ย้อนไปเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ณ หมู่บ้านย่านสันกำแพง จำได้ว่าตอนนั้นกำลังอยู่ในห้องน้ำ อยู่ดีๆ ก็รู้สึกตัวโยกไปเอียงมา แอบคิดในใจว่าหรือเราจะหน้ามืด ทันใดนั้นคนในบ้านก็ตะโกนว่า”แผ่นดินไหว” ตอนนั้นทำอะไรไม่ถูกได้แต่รีบหนีออกจากพร้อมอุ้มหมามายืนบนถนนอย่างทุลักทุเล บอกตามตรงว่าทำอะไรไม่ถูก นั้นคือเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ล่าสุดของภาคเหนือ ขนาดแผ่นดินไหว 6.3 ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณ ตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของกลุ่มรอยเลื่อนพะเยา หากจำกันได้การเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าวมีความรุนแรงและเกิดขึ้นใกล้แหล่งชุมชนก่อให้เกิดความเสียหายของสิ่งปลูกสร้างเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะ ถนน อาคารและบ้านเรือน ครั้งนั้นเองที่ผู้เขียนรู้เลยว่าพวกเราไม่เคยเรียนรู้และเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์แบบนี้เลยทั้งในด้านการป้องกัน และ การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
ถัดมาแค่หนึ่งปีผมเจอแผ่นดินไหวจังๆ อีกครั้งตอนอยู่โตเกียว ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2558 ขนาดแผ่นดินไหว 5.5 ตอนนั้นกำลังเดินออกจากอาคาร Tokyo Skytree ด้วยความแปลกใจว่าทำไมอยู่ดีๆ รถไฟก็หยุดวิ่ง พร้อมเสียงโทรศัพท์จากเพื่อนที่ญี่ปุ่นโทรมาเช็คว่ายังอยู่ดีไหมเพราะแผ่นดินไหวแรงมาก แต่เหลือเชื่อเรากลับไม่รู้สึกอะไรเลยได้แต่มองย้อนกลับไปดูที่อาคารและคิดในใจว่าสมกับเป็นหนึ่งในอาคารที่มีเทคโนโลยีรับมือเกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งตามที่เคยได้ฟังจากทีมผู้ออกแบบ

หากเข้าไปดูข้อมูลสถิติของสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว (http://www.earthquake.tmd.go.th/ ) จะพบว่าบริเวณภาคเหนือของไทยยังมีแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ไม่ได้รุนแรงเหมือนเมื่อปี 2557 เชื่อไหมครับว่าเฉพาะเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน บริเวณจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน มีแผ่นดินไหวมาไม่น้อยกว่า 16 ครั้ง และมี 4 ครั้งเป็นเหตุการณ์ที่มีผู้รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน นี่ยังไม่รวมจากพื้นที่ใกล้เคียงอื่นๆ
ภัยแผ่นดินไหวยังคงเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้การเตรียมการล่วงหน้าเพื่อป้องกันภัยแผ่นดินไหว จำเป็นต้องเตรียมพร้อมก่อนล่วงหน้าเหตุการณ์ ในด้านสิ่งปลูกสร้างหากท่านกำลังคิดสร้างบ้านหลังใหม่ ควรใส่ใจตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นในการออกแบบเพราะรูปทรงบ้านบางแบบเช่นบ้านที่ชั้นล่างเปิดโล่งอาจพังถล่มลงมาได้ง่าย การใช้คอนกรีตที่ด้อยคุณภาพหรือเหล็กไม่เต็มเส้นจะทำให้โครงสร้างไม่แข็งแรง โครงสร้างแต่ละส่วนจะมีการเสริมเหล็กมากกว่าปกติ ทางที่ดีควรปรึกษาวิศวกรโยธา

มีคอนโดมิเนียมบางแห่งในจังหวัดเชียงรายชูจุดขายด้านความปลอดภัยโดยออกแบบโครงสร้างเสริมเหล็กพิเศษต้านแรงโดยเฉพาะสำหรับแผ่นดินไหว ลิฟต์โดยสารป้องกันแผ่นดินไหวเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวลิฟต์จะหยุดตรงชั้นที่ใกล้ที่สุดและเปิดประตูออกโดยอัตโนมัติหากตรวจจับแรงสั่นสะเทือนได้
สุดท้ายเราต้องเตือนตัวเองว่าที่อยู่ของเรายัง”ไหว”อยู่ ต้องหัดฝึกซ้อมเตรียมตัวรู้วิธีหลบภัยหากเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้น จำไว้ว่าเราจะลดเหตุรุนแรงกับตัวเราและครอบครัวได้ด้วยสติ 


มนต์ชัย บุญยะวิภากุล

IN FOCUS : Better City Better Living for Better Life (บทความตีพิมพ์นิตยสาร  Home Buyers Guide Chiangmai ฉบับเดือน ธันวาคม 2559

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # เมื่อเด็กถาปัตย์ต้องเขียนรายงาน

     การเขียนรายงานกับนักศึกษาสถาปัตย์ ถ้าเปรียบเทียบคงเหมือนสุภาษิตทีว่า งูเหลือมแพ้เชือกกล้วย ต่อให้ออกแบบดี เขียนรูปสวย ทำ 3D ขั้นเทพ แต่ก็มักจะแพ้ทางการเขียนรายงาน เคยมีคนกล่าวไว้ว่า หากเขียนในสิ่งที่รู้ออกมาไม่ได้ก็แปลว่ายังไม่สามารถรู้เรื่องนั้นอย่างแท้จริง และนี่เองนำไปสู่กระบวนการที่ทางทีมอาจารย์ ต้องการให้นักศึกษารู้จักประมวลผลในสิ่งที่ตนเองทำ โดยเฉพาะเรื่องของโครงสร้าง การออกแบบอะไรสักอย่างก็ควรจะมีที่มาที่ไป แนวคิดจนถึงเทคนิคและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง  จากบทความที่แล้ว ( # TRUSS & SPACE FRAME ) ได้กล่าวถึงการจัดทำโมเดล เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างช่วงพาดกว้าง และ กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างที่ปรึกษากับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในการสร้างสรรค์ออกแบบ โครงสร้าง TRUSS และ SPACE  FRAME  ว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมอะไรได้บ้าง คราวนี้เรามาดูรายงานในกระบวนการศึกษาที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้จัดทำ โดยสามารถคลิก DOWNLOAD รายงานฉบับเต็มของแต่ละชิ้นงานได้ตาม Link ที่อยู่ด้านล่างครับ           1. โครงสร...

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # TRUSS & SPACE FRAME

หากประโยคติดหูที่ว่า “Great Power Comes With Great Responsibility” ( พลังอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง ) ใครฟังก็ร้อง อ่อ นี่มันประโยคเด็ดของ คุณลุงเบน ลุงของสไปเดอร์แมนนี่เอง ประโยคเด็ดที่ว่า “Construction คือ ดีไซน์ ” ก็จัดเป็นประโยคเด็ดที่เหล่านักศึกษาสถาปัตย์ ม.รังสิต ได้ยินจนคุ้นหู และรู้ได้ทันทีว่าเป็นประโยคเด็ดของ อ.ชาลี ไกรฤกษ์ และนั่นก็เป็นแนวคิดที่ผมและทีมอาจารย์ทางสาย Construction พยายามปลูกฝังการคิดให้กับเหล่านักศึกษาชั้นปีที่4   โดยงานในครั้งนี้ได้ให้นักศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ จัดทำแบบจำลองโครงสร้าง TRUSS และ SPACE   FRAME   ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่คิดว่าโครงสร้าง   TRUSS นำไปใช้กับหลังคาโรงงานหรือใช้คลุมช่วงพาดกว้างเท่านั้น   จริงแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปทรงอาคาร สร้างที่ว่าง หรือทำโครงสร้างสะพาน และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบได้อย่างมากมาย และนี่เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของนักศึกษาที่นำมาเผยแพร่ครับ รูปบน: (รูป1) การนำ Space Frame มาสร้างพื้นที่ปกคลุมขนาดใหญ่โดยใช้เทคนิคการแผ่ออกจากฐาน น้ำหนักโค...

Mega-Scale Building Structural Systems (ARC348/2559)

เนื้อหาและรายละเอียดการสอนวิชา ARC348 Mega-Scale Building Structural Systems คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ช่วงพาดกว้าง และปานกลาง โดยใช้โครงสร้างผสมผสาน  เหล็ก และคอนกรีตเสริมเหล็ก การใช้คอนกรีตอัดแรงในการก่อสร้าง ระบบการก่อสร้างโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป ศึกษารายละเอียด และคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง การใช้เหล็กในการก่อสร้าง การต่อโครงสร้างเหล็ก วิธีการป้องกัน การผุกร่อน และการป้องกันไฟ Building construction focusing on steel and steel reinforced concrete in medium-long span building construction, pre-stressed concrete, pre-fabrication technology.  Study use of steel in building construction, building structures, joints and details, steel treatments and fire protections.   หัวข้องาน Assignment 1 . Long Span "GO" คลิก   Project 1. Experimental Design Truss & Space Frame คลิก Final Project : Bamboo Structure คลิก เอกสารประกอบการสอน Architects' Data Third Edition  คลิก เอกสารประกอบการสอน...