ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บ้านเล็ก น้ำ ใจงาม



วันฟ้าใสอากาศเย็นสบายกลางเดือนธันวาคม 2559 ช่วงเวลาส่งท้ายปี ผมได้มีโอกาสพานักศึกษา มาศึกษาดูงานเรียนรู้วิถีชุมชน ณ โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ ดอยฟ้าห่มปก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โครงการนี้เกิดจากพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ให้ราษฎรยากไร้และสมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ ได้มีที่อยู่ที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง พัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรให้ดีขึ้น รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางคนอยู่ร่วมกับป่า อนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพต้นน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยมีราษฎร 3 ชนเผ่า อาข่า มูเซอ และลีซอ
บนโครงการนั้นชุ่มชื้นมาก ชุ่มชื้นทั้งจากสภาพป่าที่ยังคงเขียวขจีมีสายน้ำไหลเย็นคอยหล่อเลี้ยงป่าและผู้คน ชุ่มชื้นทั้งจากน้ำใจของผู้คน ทั้งจากเจ้าหน้าที่ในโครงการและชาวบ้านที่ดูแลและให้ความรู้พวกเราเป็นอย่างดี

“เพราะน้ำคือชีวิต” กิจกรรมที่พวกเรารู้สึกดีแม้จะเป็นการได้ลองทำครั้งแรกและต้องเดินเข้าไปในป่า คือการได้ร่วมแรงร่วมใจสร้างฝายทดน้ำเพื่อนำมาใช้กับชุมชนยามหน้าแล้ง นอกจากนั้นฝายยังทำหน้าที่ช่วยลดการชะล้างพังทลายของดินและลดความรุนแรงของกระแสน้ำทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้น ความชุ่มชื้นมีเพิ่มขึ้นและแผ่ขยายกระจายความชุ่มชื้นออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ทั้งสองฝั่งของลำห้วยทำให้ป่าชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนช่วยลดความรุนแรงหากเกิดไฟป่าในฤดูแล้ง เมื่อมีน้ำ มีป่า คนก็อยู่ได้ เมื่อนิเวศบนต้นน้ำดี ผู้คนในเมือง บนพื้นราบก็ได้รับผลดีไปด้วย 


“หญ้าแฝก พืชมหัศจรรย์” ชาวบ้านใจดีชวนพวกเราไปทดลองปลูกหญ้าแฝกในที่ดินทำกินของพวกเขา ต้องบอกก่อนว่าผักที่ปลูกโดยชาวบ้านในโครงการนี้อร่อยมาก การที่ปลูกหญ้าแฝกในแหล่งเพาะปลูกที่เป็นเนินเขานั้นช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน บำรุงดินและฟื้นฟูดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ รากช่วยดูดซับน้ำในผืนดิน ใบแฝกที่ตัดก็สามารถใช้คลุมดินและจะกลายเป็นปุ๋ยต่อไปได้หลังจากช่วยชาวบ้านเสร็จพวกเราก็ได้ผักอร่อยกำโตมาเป็นอาหารมื้อค่ำ คิดๆดูวิถีชีวิตแบบนี้ก็ดีเหมือนกันแทบไม่ได้ใช้เงิน ไปช่วยลงแรงได้อาหารกลับมา แถมงานที่ได้ช่วยทำก็สร้างความสุขใจให้กับพวกเราที่เดินทางมาจากเมืองอันแสนวุ่นวาย
          การได้มาศึกษาดูงาน โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ ในครั้งนี้ไม่เพียงให้ความรู้และประสบการณ์ แต่บ้านเล็กในป่านี้ยังทำให้พวกเราสัมผัสถึงน้ำใจไมตรีของผู้คนในสังคม เปรียบเหมือนฝายที่คอยเก็บน้ำและหญ้าแฝกที่ยึดโยงหัวใจผู้คนไว้ด้วยกัน สวัสดีปีใหม่ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข ความเจริญ มีน้ำใจไมตรี ให้แก่กัน

มนต์ชัย บุญยะวิภากุล
IN FOCUS-Dec : Better City Better Living for Better Life


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # เมื่อเด็กถาปัตย์ต้องเขียนรายงาน

     การเขียนรายงานกับนักศึกษาสถาปัตย์ ถ้าเปรียบเทียบคงเหมือนสุภาษิตทีว่า งูเหลือมแพ้เชือกกล้วย ต่อให้ออกแบบดี เขียนรูปสวย ทำ 3D ขั้นเทพ แต่ก็มักจะแพ้ทางการเขียนรายงาน เคยมีคนกล่าวไว้ว่า หากเขียนในสิ่งที่รู้ออกมาไม่ได้ก็แปลว่ายังไม่สามารถรู้เรื่องนั้นอย่างแท้จริง และนี่เองนำไปสู่กระบวนการที่ทางทีมอาจารย์ ต้องการให้นักศึกษารู้จักประมวลผลในสิ่งที่ตนเองทำ โดยเฉพาะเรื่องของโครงสร้าง การออกแบบอะไรสักอย่างก็ควรจะมีที่มาที่ไป แนวคิดจนถึงเทคนิคและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง  จากบทความที่แล้ว ( # TRUSS & SPACE FRAME ) ได้กล่าวถึงการจัดทำโมเดล เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างช่วงพาดกว้าง และ กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างที่ปรึกษากับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในการสร้างสรรค์ออกแบบ โครงสร้าง TRUSS และ SPACE  FRAME  ว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมอะไรได้บ้าง คราวนี้เรามาดูรายงานในกระบวนการศึกษาที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้จัดทำ โดยสามารถคลิก DOWNLOAD รายงานฉบับเต็มของแต่ละชิ้นงานได้ตาม Link ที่อยู่ด้านล่างครับ           1. โครงสร...

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # TRUSS & SPACE FRAME

หากประโยคติดหูที่ว่า “Great Power Comes With Great Responsibility” ( พลังอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง ) ใครฟังก็ร้อง อ่อ นี่มันประโยคเด็ดของ คุณลุงเบน ลุงของสไปเดอร์แมนนี่เอง ประโยคเด็ดที่ว่า “Construction คือ ดีไซน์ ” ก็จัดเป็นประโยคเด็ดที่เหล่านักศึกษาสถาปัตย์ ม.รังสิต ได้ยินจนคุ้นหู และรู้ได้ทันทีว่าเป็นประโยคเด็ดของ อ.ชาลี ไกรฤกษ์ และนั่นก็เป็นแนวคิดที่ผมและทีมอาจารย์ทางสาย Construction พยายามปลูกฝังการคิดให้กับเหล่านักศึกษาชั้นปีที่4   โดยงานในครั้งนี้ได้ให้นักศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ จัดทำแบบจำลองโครงสร้าง TRUSS และ SPACE   FRAME   ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่คิดว่าโครงสร้าง   TRUSS นำไปใช้กับหลังคาโรงงานหรือใช้คลุมช่วงพาดกว้างเท่านั้น   จริงแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปทรงอาคาร สร้างที่ว่าง หรือทำโครงสร้างสะพาน และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบได้อย่างมากมาย และนี่เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของนักศึกษาที่นำมาเผยแพร่ครับ รูปบน: (รูป1) การนำ Space Frame มาสร้างพื้นที่ปกคลุมขนาดใหญ่โดยใช้เทคนิคการแผ่ออกจากฐาน น้ำหนักโค...

Mega-Scale Building Structural Systems (ARC348/2559)

เนื้อหาและรายละเอียดการสอนวิชา ARC348 Mega-Scale Building Structural Systems คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ช่วงพาดกว้าง และปานกลาง โดยใช้โครงสร้างผสมผสาน  เหล็ก และคอนกรีตเสริมเหล็ก การใช้คอนกรีตอัดแรงในการก่อสร้าง ระบบการก่อสร้างโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป ศึกษารายละเอียด และคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง การใช้เหล็กในการก่อสร้าง การต่อโครงสร้างเหล็ก วิธีการป้องกัน การผุกร่อน และการป้องกันไฟ Building construction focusing on steel and steel reinforced concrete in medium-long span building construction, pre-stressed concrete, pre-fabrication technology.  Study use of steel in building construction, building structures, joints and details, steel treatments and fire protections.   หัวข้องาน Assignment 1 . Long Span "GO" คลิก   Project 1. Experimental Design Truss & Space Frame คลิก Final Project : Bamboo Structure คลิก เอกสารประกอบการสอน Architects' Data Third Edition  คลิก เอกสารประกอบการสอน...