ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # TRUSS & SPACE FRAME

หากประโยคติดหูที่ว่า “Great Power Comes With Great Responsibility” ( พลังอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง) ใครฟังก็ร้อง อ่อ นี่มันประโยคเด็ดของ คุณลุงเบน ลุงของสไปเดอร์แมนนี่เอง ประโยคเด็ดที่ว่า “Construction คือ ดีไซน์ ก็จัดเป็นประโยคเด็ดที่เหล่านักศึกษาสถาปัตย์ ม.รังสิต ได้ยินจนคุ้นหู และรู้ได้ทันทีว่าเป็นประโยคเด็ดของ อ.ชาลี ไกรฤกษ์ และนั่นก็เป็นแนวคิดที่ผมและทีมอาจารย์ทางสาย Construction พยายามปลูกฝังการคิดให้กับเหล่านักศึกษาชั้นปีที่4  

โดยงานในครั้งนี้ได้ให้นักศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ จัดทำแบบจำลองโครงสร้าง TRUSS และ SPACE  FRAME  ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่คิดว่าโครงสร้าง  TRUSS นำไปใช้กับหลังคาโรงงานหรือใช้คลุมช่วงพาดกว้างเท่านั้น  จริงแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปทรงอาคาร สร้างที่ว่าง หรือทำโครงสร้างสะพาน และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบได้อย่างมากมาย และนี่เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของนักศึกษาที่นำมาเผยแพร่ครับ

รูปบน: (รูป1) การนำ Space Frame มาสร้างพื้นที่ปกคลุมขนาดใหญ่โดยใช้เทคนิคการแผ่ออกจากฐาน น้ำหนักโครงสร้างทั้งหมดจากด้านบนรวมลงสู่ด้านล่าง ณ จุดเดียว (รูป2) การนำโครงสร้าง Truss มาคลุมพื้นที่ว่างระหว่างอาคาร (ผลงานโดย ปิยนุช อินน้ำหอม ธาริน กาลสงค์)


รูปบน: การนำ Space Truss มาใช้เทคนิค Twist ทำให้เกิดโครงสร้างของสะพานที่น่าสนใจ (ผลงานโดย นายณัฐวุฒิ ทองทรง. นายชนะพงศ์ เรืองเดชบุญฤทธิ์ นายณัฐพงษ์ ยามูฮา)

รูปบน: การนำ Space Frame มาถักทอสร้าง Space ที่น่าสนใจ รวมถึงเป็นโครงสร้างและเปลือกของงานสถาปัตยกรรม (ผลงานโดย นายณัฐวุฒิ ทองทรง. นายชนะพงศ์ เรืองเดชบุญฤทธิ์ นายณัฐพงษ์ ยามูฮา)


รูปบน: ออกแบบโครงสร้าง Truss ให้ใช้ได้กับทั้งอาคาร เป็นโครงสร้างส่วนผนังและหลังคา สร้างพื้นที่ว่างภายในได้น่าสนใจ (ผลงานโดย นายภานุพงษ์ เหมือนอ่ำ นายวันลุกมาน แวโด) 


รูปบน: ออกแบบโครงสร้าง Truss ทั้งหมดให้เป็นพื้นที่อัศจรรย์ต่อเนื่องเป็นผนังด้านข้างและหลังคา มีเสาค้ำยันด้านข้างเพื่อช่วยรับน้ำหนักจากโครงสร้างหลังคา (ผลงานโดย นายภาณุพงศ์ ไชยภาษี นายอดิศักดิ์ เกลี้ยงสุวรรณ นายพิรุณ วงศ์ทิมารัตน์)

รูปบน: (รูป1) ออกแบบโครง Truss โดยได้แรงบันดาลใจจากแมงมุม วงแหวนตรงกลางสร้างแรงดึงและรั้งโครง Truss ประกอบกันขึ้นเป็นรูปทรงอาคาร (รูป2) นำชุดโครงสร้าง Space Frame ต่อเติมจากโครงอาคารเดิมสร้างเสาโค้งมารับแรงทั้ง 4 จุด  (ผลงานโดย นางสาวขวัญพัฒน์ นิธินันท์ศุภกร นายลิปปกร ธัญญโยธิน นางสาวธนิตา กาญจนวิไล)

รูปบน: ออกแบบให้เป็น Space Truss บริเวณส่วนที่เป็นเสา จากนั้นเปลี่ยนโครงสร้างเป็น Truss 2 มิติ ถักทอกันด้านบน โครงสร้างทั้งหมดทำหน้าที่ยึดติดผนังและหิ้วส่วนที่เป็นหลังคาปกคลุมอาคาร  (ผลงานโดย นายวันทกานต์ วายามานนท์ นางสาวพัทธนันท์ ไชยวัฒน์มงคล นายประพฤทธิ์ ปันทะ)

รูปบน: (รูปซ้าย) ออกแบบสะพานโดยใช้ โครงสร้าง Space Truss ขนาดใหญ่ทำหน้าที่แขวนโครงสร้างถนน (รูปขวา) นำโครงสร้าง Space Frame มาปกคลุมฟังค์ชั่นการใช้งาน (ผลงานโดย นายวรรณชนะ ศุภดล นางสาวสรยา พินิจผล นางสาวภัทรวิจิตราสุบรรณ ณ อยุธยา)


 รูปบน: นำโครงสร้าง Space Frame มาสร้างเป็นรูปทรงอาคารในแบบ Dynamic Form (ผลงานโดย นายเอกลักษณ์ รักสกุลพูนทวี นายรัชชานนท์ ไทยเเก้ว)
  
โดยรวมแล้วผลงานการออกแบบโครงสร้างของนักศึกษามีน่าสนใจมากมายหลายชิ้นงานครับ ไว้โอกาศหน้าคงรวบรวมมาเขียนเพิ่มเติมให้มากกว่านี้ แต่อย่าลืมนะครับหัวใจหลักของความสำเร็จของงานในชิ้นนี้ "Construction คือ ดีไซน์"

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # เมื่อเด็กถาปัตย์ต้องเขียนรายงาน

     การเขียนรายงานกับนักศึกษาสถาปัตย์ ถ้าเปรียบเทียบคงเหมือนสุภาษิตทีว่า งูเหลือมแพ้เชือกกล้วย ต่อให้ออกแบบดี เขียนรูปสวย ทำ 3D ขั้นเทพ แต่ก็มักจะแพ้ทางการเขียนรายงาน เคยมีคนกล่าวไว้ว่า หากเขียนในสิ่งที่รู้ออกมาไม่ได้ก็แปลว่ายังไม่สามารถรู้เรื่องนั้นอย่างแท้จริง และนี่เองนำไปสู่กระบวนการที่ทางทีมอาจารย์ ต้องการให้นักศึกษารู้จักประมวลผลในสิ่งที่ตนเองทำ โดยเฉพาะเรื่องของโครงสร้าง การออกแบบอะไรสักอย่างก็ควรจะมีที่มาที่ไป แนวคิดจนถึงเทคนิคและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง  จากบทความที่แล้ว ( # TRUSS & SPACE FRAME ) ได้กล่าวถึงการจัดทำโมเดล เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างช่วงพาดกว้าง และ กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างที่ปรึกษากับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในการสร้างสรรค์ออกแบบ โครงสร้าง TRUSS และ SPACE  FRAME  ว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมอะไรได้บ้าง คราวนี้เรามาดูรายงานในกระบวนการศึกษาที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้จัดทำ โดยสามารถคลิก DOWNLOAD รายงานฉบับเต็มของแต่ละชิ้นงานได้ตาม Link ที่อยู่ด้านล่างครับ           1. โครงสร...

Mega-Scale Building Structural Systems (ARC348/2559)

เนื้อหาและรายละเอียดการสอนวิชา ARC348 Mega-Scale Building Structural Systems คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ช่วงพาดกว้าง และปานกลาง โดยใช้โครงสร้างผสมผสาน  เหล็ก และคอนกรีตเสริมเหล็ก การใช้คอนกรีตอัดแรงในการก่อสร้าง ระบบการก่อสร้างโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป ศึกษารายละเอียด และคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง การใช้เหล็กในการก่อสร้าง การต่อโครงสร้างเหล็ก วิธีการป้องกัน การผุกร่อน และการป้องกันไฟ Building construction focusing on steel and steel reinforced concrete in medium-long span building construction, pre-stressed concrete, pre-fabrication technology.  Study use of steel in building construction, building structures, joints and details, steel treatments and fire protections.   หัวข้องาน Assignment 1 . Long Span "GO" คลิก   Project 1. Experimental Design Truss & Space Frame คลิก Final Project : Bamboo Structure คลิก เอกสารประกอบการสอน Architects' Data Third Edition  คลิก เอกสารประกอบการสอน...