ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ชุมชน “ร่ม” เย็น

วันฟ้าใสช่วงสุดสัปดาห์กลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา บ้านบ่อสร้างดูผู้คนคึกคักกว่าที่ผ่านมา ถนนถูกปิดเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับคนเดิน ร่มสีสันสดใสถูกประดับเหมือนลอยอยู่บนท้องฟ้าพร้อมเวทีการแสดง ร้านค้าในชุมชนนำร่มมาตกแต่งอย่างสวยงาม “เทศกาลร่มบ่อสร้างและหัตถกรรมสันกำแพง ครั้งที่ 34” โดยงานปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ร่มเย็นด้วยบารมี 9 สู่ 10” ภายในงานได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย สาเหตุเริ่มแรกของการจัดงานเทศกาลร่มบ่อสร้างมาจากชาวบ้านที่ทำร่มมีรายได้ต่ำและคิดละทิ้งการทำร่มหันไปประกอบอาชีพอื่น หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจึงได้เข้ามามีบทบาทอนุรักษ์และฟื้นฟู และจัดงานเทศการขึ้นตั้งแต่ปี 2529 จนปัจจุบัน

ย้อนอดีตไปประมาณ 200 ปีมาแล้ว ร่มบ่อสร้างเริ่มจาก พระอินถา ภิกษุประจำวัดบ่อสร้าง ธุดงค์ใกล้ชายแดนพม่า มีชาวบ้านใจบุญนำกลดมาถวายเพื่อใช้ป้องกันแดดฝน เมื่อได้เห็นกลดแปลกตามีลักษณะเหมือนร่มใช้กันแดดกันฝนได้ ทำจากวัสดุหาง่ายและพกพาได้สะดวกจึงขอศึกษาวิธีการทำร่มและนำกลับมาเผยแพร่ยังบ้านบ่อสร้าง ชาวบ้านต่างสนใจการเรียนทำร่มเป็นจำนวนมากโดยผู้ชายเรียนการทำโครงร่มโดยใช้ไม้บงหรือไม้ไผ่ ผู้หญิงศึกษาการทำกระดาษสาสำหรับใช้คลุมร่ม ไม่นานก็สามารถทำกันได้ จนกลายเป็นอาชีพรองจากการทำนาจึงเกิดเป็นหมู่บ้านทำร่มขึ้นโดยเฉพาะจนมีชื่อเสียง
ปัจจุบันร่มเป็นที่ยอมรับว่าร่มบ่อสร้างเป็นสินค้าขึ้นชื่อของเชียงใหม่ จนได้รับการขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (geographical indication) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อปี 2552 แต่ที่น่าสนใจไม่น้อยกว่าร่มบ่อสร้างคือการจัดการพื้นที่ค้าขายและต้อนรับนักท่องเที่ยวของของชุมชนบริเวณนี้ เริ่มต้นจากศูนย์อุตสาหกรรมทำร่มอันเป็นเหมือนศูนย์การเรียนรู้ เปิดให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาวัฒนธรรมการทำร่มที่ครบวงจร เราจึงมักเห็นนักท่องเที่ยวเริ่มต้นจากจุดนี้และเป็นหนึ่งในโปรแกรมการท่องเที่ยวของกรุ๊ปทัวร์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ  การได้มาเห็นกระบวนการทำร่มนี่เองทำให้ผู้พบเห็นเกิดความสนใจและอยากได้ไว้ในครอบครอง เมื่อออกมาบริเวณสองฝากถนนจะพบร้านค้าขายสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านอันหลากหลายตลอดทาง ร้านค้าเหล่านี้เป็นเหมือนแหล่งจำหน่ายและกระจายสินค้าสร้างรายได้หล่อเลี้ยงให้กับผู้คนในชุมชนไม่เพียงแต่ขายปลีกแต่ยังมีการขายส่งให้กับพ่อค้าแม่ค้าจากที่อื่นนำไปขายต่อทำให้ผู้ประกอบอาชีพด้านหัตถกรรมและทำร่มให้มีรายได้พอเพียงกับสภาพการครองชีพในปัจจุบัน ภายในชุมชนมีที่ทำการไปรษณีย์เป็นระบบโลจิสติกส์ในการขนส่งสินค้ารองรับการค้าขายระบบออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เท่าที่สังเกตมีผู้มาใช้บริการส่งของจำนวนมากทีเดียว

ชุมชนบ้านบ่อสร้างจึงนับเป็นตัวอย่างที่ดีของการร่วมมือของผู้คนในชุมชนและผู้เกี่ยวข้องในการอนุรักษณ์และพัฒนาของดีของชุมชนที่สืบทอดต่อกันมาทำให้เกิดรายได้ยกระดับความเป็นอยู่ของชาวบ้านเมื่อความเป็นอยู่ดีชีวิตก็มีสุข ในอนาคตเชื่อว่าย่านนี้จะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากการมีสถานที่ท่องเที่ยวหางใหม่คือ พิพิธภัณฑ์ใหม่เอี่ยมและสวนน้ำแห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่ที่กำลังจะเปิดในอนาคตอันใกล้นี้ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # เมื่อเด็กถาปัตย์ต้องเขียนรายงาน

     การเขียนรายงานกับนักศึกษาสถาปัตย์ ถ้าเปรียบเทียบคงเหมือนสุภาษิตทีว่า งูเหลือมแพ้เชือกกล้วย ต่อให้ออกแบบดี เขียนรูปสวย ทำ 3D ขั้นเทพ แต่ก็มักจะแพ้ทางการเขียนรายงาน เคยมีคนกล่าวไว้ว่า หากเขียนในสิ่งที่รู้ออกมาไม่ได้ก็แปลว่ายังไม่สามารถรู้เรื่องนั้นอย่างแท้จริง และนี่เองนำไปสู่กระบวนการที่ทางทีมอาจารย์ ต้องการให้นักศึกษารู้จักประมวลผลในสิ่งที่ตนเองทำ โดยเฉพาะเรื่องของโครงสร้าง การออกแบบอะไรสักอย่างก็ควรจะมีที่มาที่ไป แนวคิดจนถึงเทคนิคและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง  จากบทความที่แล้ว ( # TRUSS & SPACE FRAME ) ได้กล่าวถึงการจัดทำโมเดล เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างช่วงพาดกว้าง และ กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างที่ปรึกษากับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในการสร้างสรรค์ออกแบบ โครงสร้าง TRUSS และ SPACE  FRAME  ว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมอะไรได้บ้าง คราวนี้เรามาดูรายงานในกระบวนการศึกษาที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้จัดทำ โดยสามารถคลิก DOWNLOAD รายงานฉบับเต็มของแต่ละชิ้นงานได้ตาม Link ที่อยู่ด้านล่างครับ           1. โครงสร...

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # TRUSS & SPACE FRAME

หากประโยคติดหูที่ว่า “Great Power Comes With Great Responsibility” ( พลังอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง ) ใครฟังก็ร้อง อ่อ นี่มันประโยคเด็ดของ คุณลุงเบน ลุงของสไปเดอร์แมนนี่เอง ประโยคเด็ดที่ว่า “Construction คือ ดีไซน์ ” ก็จัดเป็นประโยคเด็ดที่เหล่านักศึกษาสถาปัตย์ ม.รังสิต ได้ยินจนคุ้นหู และรู้ได้ทันทีว่าเป็นประโยคเด็ดของ อ.ชาลี ไกรฤกษ์ และนั่นก็เป็นแนวคิดที่ผมและทีมอาจารย์ทางสาย Construction พยายามปลูกฝังการคิดให้กับเหล่านักศึกษาชั้นปีที่4   โดยงานในครั้งนี้ได้ให้นักศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ จัดทำแบบจำลองโครงสร้าง TRUSS และ SPACE   FRAME   ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่คิดว่าโครงสร้าง   TRUSS นำไปใช้กับหลังคาโรงงานหรือใช้คลุมช่วงพาดกว้างเท่านั้น   จริงแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปทรงอาคาร สร้างที่ว่าง หรือทำโครงสร้างสะพาน และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบได้อย่างมากมาย และนี่เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของนักศึกษาที่นำมาเผยแพร่ครับ รูปบน: (รูป1) การนำ Space Frame มาสร้างพื้นที่ปกคลุมขนาดใหญ่โดยใช้เทคนิคการแผ่ออกจากฐาน น้ำหนักโค...

Mega-Scale Building Structural Systems (ARC348/2559)

เนื้อหาและรายละเอียดการสอนวิชา ARC348 Mega-Scale Building Structural Systems คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ช่วงพาดกว้าง และปานกลาง โดยใช้โครงสร้างผสมผสาน  เหล็ก และคอนกรีตเสริมเหล็ก การใช้คอนกรีตอัดแรงในการก่อสร้าง ระบบการก่อสร้างโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป ศึกษารายละเอียด และคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง การใช้เหล็กในการก่อสร้าง การต่อโครงสร้างเหล็ก วิธีการป้องกัน การผุกร่อน และการป้องกันไฟ Building construction focusing on steel and steel reinforced concrete in medium-long span building construction, pre-stressed concrete, pre-fabrication technology.  Study use of steel in building construction, building structures, joints and details, steel treatments and fire protections.   หัวข้องาน Assignment 1 . Long Span "GO" คลิก   Project 1. Experimental Design Truss & Space Frame คลิก Final Project : Bamboo Structure คลิก เอกสารประกอบการสอน Architects' Data Third Edition  คลิก เอกสารประกอบการสอน...