ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทางปั่น ปั้นเรื่อง




ท่ามกลางอากาศหนาวแบบเลขตัวเดียวผมกำลังปั่นจักรยานบนสะพานเหนือทะเลในเส้นทาง   ฌิมะนะมิไคโดเส้นทางจักรยานที่ถูกจัดอันดับโดย CNN ให้เป็นเส้นทางขี่จักรยานที่ดีสุดแห่งหนึ่งของโลก เส้นทางเชื่อมระหว่างเมืองโอะโนะมิชิถึงเมืองอิมะบะริผ่านเกาะทั้งเจ็ด ปั่นข้ามสะพานทั้งหกที่ขนานไปกับทางด่วนสลับกับการปั่นบริเวณรอบเกาะระยะทางรวมกว่า 70 กิโลเมตร
จุดเริ่มของเส้นทางจักรยานแห่งนี้เกิดจากหน่วยงานของรัฐต้องการตัดถนนเชื่อมระหว่างภูมิภาค ประชาชนจึงเสนอให้ทำทางจักรยานควบคู่กันไปด้วยเพื่อจะได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของประเทศ หน่วยงานของรัฐจึงได้เพิ่มทางสำหรับจักรยานบนสะพาน ส่วนบริเวณเส้นทางปั่นรอบแต่ละเกาะใช้วิธีตีเส้นสีฟ้าพร้อมบอกระยะทางจุดหมายปลายทางที่เหลือเราก็แค่ปั่นไปทางสีฟ้ารับรองไม่มีหลง แต่ละเกาะก็สร้างเรื่องราวชูของดีที่มีอยู่ อาทิแหล่งท่องเที่ยว หัตถกรรม งานศิลปะ สินค้าเกษตร ของกิน สร้างเป็นเรื่องราวให้ผู้คนสนใจ ร้านค้าแต่ละร้านเริ่มปรับตัวร้านค้าไหนยินดีให้นักปั่นแวะพักก็จะทำที่จอดจักรยาน เตรียมที่สูบลม หรือบริการห้องน้ำแก่นักปั่นปรากฏว่าได้ผลตอบรับดีเกินคาดจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติ จากชุมชนและเมืองที่เงียบเหงากลับมามีชีวิตชีวาจากการมีคนมาปั่นจักรยานและท่องเที่ยวเมื่อมีกิจกรรมเกิดแหล่งงานผู้คนที่ออกไปทำงานในเมืองใหญ่ก็เริ่มกลับยังชุมชนสร้างกิจการของตนเอง โครงการนี้ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและผู้อาศัยในชุมชนตลอดจนพลังแห่งการสร้างเรื่องราวที่ทำให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่นอกจากนั้นโครงการนี้ยังเป็นต้นแบบให้กับอีกหลายเมืองในประเทศญี่ปุ่นในการนำการปั่นจักรยานไปสร้างเรื่องราวให้กับเมืองของตน




เชียงใหม่เองมีศักยภาพในการเป็นเมืองจักรยาน มีรูปแบบการปั่นจักรยานหลากหลายด้วยกัน เช่น ปั่นชิวชมเมืองและวัฒนธรรมบริเวณรอบคูเมือง ปั่นออกกำลังปั่นชมธรรมชาติมีเส้นทางยอดนิยมอาทิ พืชสวนโลก ห้วยตึงเฒ่า-ศูนย์ประชุมนานาชาติเชียงใหม่ นอกจากนั้นรอบเชียงใหม่ยังมีถนนอีกหลายสายที่มีช่องทางสำหรับจักรยานถ้าเราสังเกตดีๆ จะเห็นป้ายทางสำหรับจักรยาน เส้นทางเหล่านี้มีหลายสายที่มีของเด่นของดีที่ซ่อนตัวรอให้นำมาปั้นเป็นเรื่องราวสร้างจุดขายให้กับเมืองของเรา

สิ่งที่แตกต่างจากการปั่นจักรยานบนถนนที่ญี่ปุ่นกับบ้านเราคือที่ญี่ปุ่นเราได้ยินเสียงรถก่อนแล้วจึงเห็นรถค่อยๆ ขับผ่านเราไปอย่างช้าๆ แต่ที่นี่รถจะวิ่งผ่านหน้าไปอย่างรวดเร็วจากนั้นจึงได้ยินเสียงรถตามมา นั่นคือผู้ขับขี่รถยนต์บ้านเราขับเร็วมากจนอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อนักปั่น การขับขี่รถยนต์อย่างระมัดระวังและไม่เกินความเร็วตามที่กฎหมายกำหนดบริเวณที่มีป้ายบอกเป็นเส้นทางจักรยานเป็นการช่วยลดการเกิดเรื่องร้าย การปั่นจักรยานไม่ได้เป็นแค่กีฬาหรือการออกกำลังกายเท่านั้นแต่สามารถเปลี่ยนทัศนคติของนักปั่นทำให้เห็นมุมมองใหม่ๆ ที่หลายคนอาจไม่เคยเห็นมาก่อน ลองออกไปปั่นช่วยกันปั้นเรื่องให้คนอื่นมาตามรอยที่เราสร้างสิครับ

มนต์ชัย บุญยะวิภากุล
IN FOCUS : Better City Better Living for Better Life (บทความตีพิมพ์นิตยสาร  Home Buyers Guide Chiangmai ฉบับเดือน ตุลาคม 2559

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # เมื่อเด็กถาปัตย์ต้องเขียนรายงาน

     การเขียนรายงานกับนักศึกษาสถาปัตย์ ถ้าเปรียบเทียบคงเหมือนสุภาษิตทีว่า งูเหลือมแพ้เชือกกล้วย ต่อให้ออกแบบดี เขียนรูปสวย ทำ 3D ขั้นเทพ แต่ก็มักจะแพ้ทางการเขียนรายงาน เคยมีคนกล่าวไว้ว่า หากเขียนในสิ่งที่รู้ออกมาไม่ได้ก็แปลว่ายังไม่สามารถรู้เรื่องนั้นอย่างแท้จริง และนี่เองนำไปสู่กระบวนการที่ทางทีมอาจารย์ ต้องการให้นักศึกษารู้จักประมวลผลในสิ่งที่ตนเองทำ โดยเฉพาะเรื่องของโครงสร้าง การออกแบบอะไรสักอย่างก็ควรจะมีที่มาที่ไป แนวคิดจนถึงเทคนิคและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง  จากบทความที่แล้ว ( # TRUSS & SPACE FRAME ) ได้กล่าวถึงการจัดทำโมเดล เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างช่วงพาดกว้าง และ กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างที่ปรึกษากับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในการสร้างสรรค์ออกแบบ โครงสร้าง TRUSS และ SPACE  FRAME  ว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมอะไรได้บ้าง คราวนี้เรามาดูรายงานในกระบวนการศึกษาที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้จัดทำ โดยสามารถคลิก DOWNLOAD รายงานฉบับเต็มของแต่ละชิ้นงานได้ตาม Link ที่อยู่ด้านล่างครับ           1. โครงสร...

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # TRUSS & SPACE FRAME

หากประโยคติดหูที่ว่า “Great Power Comes With Great Responsibility” ( พลังอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง ) ใครฟังก็ร้อง อ่อ นี่มันประโยคเด็ดของ คุณลุงเบน ลุงของสไปเดอร์แมนนี่เอง ประโยคเด็ดที่ว่า “Construction คือ ดีไซน์ ” ก็จัดเป็นประโยคเด็ดที่เหล่านักศึกษาสถาปัตย์ ม.รังสิต ได้ยินจนคุ้นหู และรู้ได้ทันทีว่าเป็นประโยคเด็ดของ อ.ชาลี ไกรฤกษ์ และนั่นก็เป็นแนวคิดที่ผมและทีมอาจารย์ทางสาย Construction พยายามปลูกฝังการคิดให้กับเหล่านักศึกษาชั้นปีที่4   โดยงานในครั้งนี้ได้ให้นักศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ จัดทำแบบจำลองโครงสร้าง TRUSS และ SPACE   FRAME   ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่คิดว่าโครงสร้าง   TRUSS นำไปใช้กับหลังคาโรงงานหรือใช้คลุมช่วงพาดกว้างเท่านั้น   จริงแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปทรงอาคาร สร้างที่ว่าง หรือทำโครงสร้างสะพาน และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบได้อย่างมากมาย และนี่เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของนักศึกษาที่นำมาเผยแพร่ครับ รูปบน: (รูป1) การนำ Space Frame มาสร้างพื้นที่ปกคลุมขนาดใหญ่โดยใช้เทคนิคการแผ่ออกจากฐาน น้ำหนักโค...

Mega-Scale Building Structural Systems (ARC348/2559)

เนื้อหาและรายละเอียดการสอนวิชา ARC348 Mega-Scale Building Structural Systems คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ช่วงพาดกว้าง และปานกลาง โดยใช้โครงสร้างผสมผสาน  เหล็ก และคอนกรีตเสริมเหล็ก การใช้คอนกรีตอัดแรงในการก่อสร้าง ระบบการก่อสร้างโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป ศึกษารายละเอียด และคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง การใช้เหล็กในการก่อสร้าง การต่อโครงสร้างเหล็ก วิธีการป้องกัน การผุกร่อน และการป้องกันไฟ Building construction focusing on steel and steel reinforced concrete in medium-long span building construction, pre-stressed concrete, pre-fabrication technology.  Study use of steel in building construction, building structures, joints and details, steel treatments and fire protections.   หัวข้องาน Assignment 1 . Long Span "GO" คลิก   Project 1. Experimental Design Truss & Space Frame คลิก Final Project : Bamboo Structure คลิก เอกสารประกอบการสอน Architects' Data Third Edition  คลิก เอกสารประกอบการสอน...