ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Tirpitz Museum

 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขึ้นจากมรดกทางวัฒนธรรมที่มืดมนและโหดราย โครงการถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นการเชื่อมต่อไปยังบังเกอร์ Tirpitz ในเมือง Blåvand ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งอดีตถูกสร้างโดยพวกนาซีในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี ค.ศ.1944 และ ถูกทิ้งล้างตั้งแต่ ค.ศ.1945 เนื่องจากสงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนี พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ออกแบบโดย Bjarke Ingels 

ปัจจุบันหลุมหลบภัยของทหารนาซีที่มีสภาพพังทลายหลายแห่งยังคงอยู่ที่ชายฝั่งเดนมาร์ก ซึ่งเป็นการย้ำเตือนถึงแผนการของฮิตเลอร์ที่ต้องการสร้างกำแพงมหาสมุทรแอตแลนติกที่คอยป้องกันศัตรูของซึ่งแผ่ขยายออกมาจากชายแดนสเปนในฝรั่งเศสไปยังปลายด้านเหนือของประเทศนอร์เวย์ 
Bjarke Ingels ได้เปลี่ยนโฉมบังเกอร์ของนาซีสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็น Tirpitz Museum ในประเทศเดนมาร์ก
Tirpitz Museum พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกสร้างอยู่ใต้ดิน และ เชื่อมต่อกับบังเกอร์เดิมของนาซีผ่านทางเดินใต้ดิน


Tirpitz บังเกอร์ แต่เดิมถูกสร้างขึ้นโดยทหารนาซีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงแอตแลนติคเหนือในปี ค.ศ.1944 และ ถูกทิ้งล้างตั้งแต่ ค.ศ.1945
 Ingels ได้เปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เหมือนคุณทานมันฝรั่งร้อน ๆ แล้วคุณบีบมันออกมา มันจะเผยให้เห็นถึงเนื้อในที่มีความนุ่มนวล นั่นคือส่วนผสมระหว่างวัฒนธรรมและธรรมชาติที่มีอยู่
เมื่อเข้าสู่พิพิธภัณฑ์ และลงสู่เบื้องล่าง จะพบแกลเลอรี่ขนาดใหญ่ที่เปิดกว้าง โปร่งสบาย มองเห็นท้องฟ้าและแสงแดด
บรรยากาศเมื่อวันเริ่มเปิดใช้งานพิพิธภัณฑ์เมื่อ 29 มิถุนายน 
 แกลเลอรี่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสงครามในมหาสมุทรแอตแลนติกสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
 แกลเลอรี่จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตบนชายฝั่งตะวันตกของชาวเดนมาร์กตั้งแต่ยุคน้ำแข็งจนถึงยุคปัจจุบันด้วยการฉายแสง
เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างภูทัศน์ให้กับตัวเอง


CR.ข้อมูลจาก http://edition.cnn.com

CR.ภาพประกอบจาก Bjarke Ingels

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # เมื่อเด็กถาปัตย์ต้องเขียนรายงาน

     การเขียนรายงานกับนักศึกษาสถาปัตย์ ถ้าเปรียบเทียบคงเหมือนสุภาษิตทีว่า งูเหลือมแพ้เชือกกล้วย ต่อให้ออกแบบดี เขียนรูปสวย ทำ 3D ขั้นเทพ แต่ก็มักจะแพ้ทางการเขียนรายงาน เคยมีคนกล่าวไว้ว่า หากเขียนในสิ่งที่รู้ออกมาไม่ได้ก็แปลว่ายังไม่สามารถรู้เรื่องนั้นอย่างแท้จริง และนี่เองนำไปสู่กระบวนการที่ทางทีมอาจารย์ ต้องการให้นักศึกษารู้จักประมวลผลในสิ่งที่ตนเองทำ โดยเฉพาะเรื่องของโครงสร้าง การออกแบบอะไรสักอย่างก็ควรจะมีที่มาที่ไป แนวคิดจนถึงเทคนิคและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง  จากบทความที่แล้ว ( # TRUSS & SPACE FRAME ) ได้กล่าวถึงการจัดทำโมเดล เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างช่วงพาดกว้าง และ กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างที่ปรึกษากับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในการสร้างสรรค์ออกแบบ โครงสร้าง TRUSS และ SPACE  FRAME  ว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมอะไรได้บ้าง คราวนี้เรามาดูรายงานในกระบวนการศึกษาที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้จัดทำ โดยสามารถคลิก DOWNLOAD รายงานฉบับเต็มของแต่ละชิ้นงานได้ตาม Link ที่อยู่ด้านล่างครับ           1. โครงสร...

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # TRUSS & SPACE FRAME

หากประโยคติดหูที่ว่า “Great Power Comes With Great Responsibility” ( พลังอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง ) ใครฟังก็ร้อง อ่อ นี่มันประโยคเด็ดของ คุณลุงเบน ลุงของสไปเดอร์แมนนี่เอง ประโยคเด็ดที่ว่า “Construction คือ ดีไซน์ ” ก็จัดเป็นประโยคเด็ดที่เหล่านักศึกษาสถาปัตย์ ม.รังสิต ได้ยินจนคุ้นหู และรู้ได้ทันทีว่าเป็นประโยคเด็ดของ อ.ชาลี ไกรฤกษ์ และนั่นก็เป็นแนวคิดที่ผมและทีมอาจารย์ทางสาย Construction พยายามปลูกฝังการคิดให้กับเหล่านักศึกษาชั้นปีที่4   โดยงานในครั้งนี้ได้ให้นักศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ จัดทำแบบจำลองโครงสร้าง TRUSS และ SPACE   FRAME   ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่คิดว่าโครงสร้าง   TRUSS นำไปใช้กับหลังคาโรงงานหรือใช้คลุมช่วงพาดกว้างเท่านั้น   จริงแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปทรงอาคาร สร้างที่ว่าง หรือทำโครงสร้างสะพาน และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบได้อย่างมากมาย และนี่เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของนักศึกษาที่นำมาเผยแพร่ครับ รูปบน: (รูป1) การนำ Space Frame มาสร้างพื้นที่ปกคลุมขนาดใหญ่โดยใช้เทคนิคการแผ่ออกจากฐาน น้ำหนักโค...

Mega-Scale Building Structural Systems (ARC348/2559)

เนื้อหาและรายละเอียดการสอนวิชา ARC348 Mega-Scale Building Structural Systems คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ช่วงพาดกว้าง และปานกลาง โดยใช้โครงสร้างผสมผสาน  เหล็ก และคอนกรีตเสริมเหล็ก การใช้คอนกรีตอัดแรงในการก่อสร้าง ระบบการก่อสร้างโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป ศึกษารายละเอียด และคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง การใช้เหล็กในการก่อสร้าง การต่อโครงสร้างเหล็ก วิธีการป้องกัน การผุกร่อน และการป้องกันไฟ Building construction focusing on steel and steel reinforced concrete in medium-long span building construction, pre-stressed concrete, pre-fabrication technology.  Study use of steel in building construction, building structures, joints and details, steel treatments and fire protections.   หัวข้องาน Assignment 1 . Long Span "GO" คลิก   Project 1. Experimental Design Truss & Space Frame คลิก Final Project : Bamboo Structure คลิก เอกสารประกอบการสอน Architects' Data Third Edition  คลิก เอกสารประกอบการสอน...