ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สูงวัยอยู่ไม่ไกล



สูงวัยอยู่ไม่ไกล
หลายท่านอาจเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด คือมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปเกิน 20% ของประชากรทั้งประเทศ ก่อนหน้านี้ผมได้ไปเยือนญี่ปุ่นหลายครั้ง พบผู้สูงอายุบ้างแต่ก็ไม่คิดว่าจะเยอะเหมือนกับที่เขาว่ากัน จนเมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปเยือนเมืองนากาโน่ ช่วงที่ไปเดินแถบย่านการค้าของเมืองถึงกับตกใจเมื่อพบว่าผู้ที่ออกมาเดินจับจ่ายใช้สอยล้วนเป็นผู้สูงอายุเกือบทั้งหมด แนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุสำหรับชาวญี่ปุ่นนั้นเน้นให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองเดินทางไปไหนด้วยตัวเองใช้ชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งพาบุตรหลานมากเกินไป 

ครั้งหนึ่งยังจำได้ติดตา ณ เมืองโอซาก้า เห็นคุณปู่ท่านหนึ่งลงจากรถแท็กซี่ท่านแก่มากเดินก็ไม่ค่อยไหว ผู้คนแถวนั้นก็เดินผ่านไปอย่างเป็นเรื่องปกติ นี่เองเป็นภาพสะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่ผู้สูงวัยต้องอยู่ได้ด้วยตนเอง ที่เล่ามาฟังเหมือนผู้คนเขาใจจืดใจดำแต่จริงๆแล้ว สภาพแวดล้อมเกือบทุกอย่างของประเทศนี้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับผู้สูงอายุอย่างแท้จริงตั้งแต่เครื่องไม้ใช้สอยภายในบ้าน สุขภัณฑ์ระบบอัตโนมัติ ระบบขนส่งมวลชนที่สะดวก เมืองที่มีทางเดินท้าวราบเรียบให้ผู้สูงอายุเดินเหินได้อย่างปลอดภัย ย่านการค้าไหนทีมีผู้สูงอายุมาเดินมากร้านค้าก็มักหาสินค้าขนาดไม่ใหญ่และน้ำหนักเบาเพื่อให้หิ้วกลับบ้านได้สะดวกหากสินค้าชิ้นใหญ่หรือปริมาณมากก็มีบริษัทบริการส่งสินค้าถึงบ้าน ย้อนมาดูเมืองเชียงใหม่ซึ่งจัดว่ามีผู้สูงวัยอันดับต้นๆ ของประเทศ แม้เมืองของเราจะยังไม่มีระบบที่รองรับผู้สูงอายุที่ดีแบบญี่ปุ่นก็ตามแต่ก็ยังโชคดีที่วัฒนธรรมของเราไม่เหมือนกัน หลายครอบครัวยังเป็นครอบครัวที่อยู่ร่วมกันกับผู้สูงอายุ มีบุตรหลานคอยดูแลอยากได้อะไรหรืออยากกินอะไรก็พร้อมจัดหาให้อยากไปไหนก็พาขึ้นรถหรือซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์พาไปส่งถึงที่ นี่เองถือว่าเป็นจุดเด่นของสังคมเราแต่จะดีแค่ไหนถ้าเราจะผนวกจุดเด่นของทั้งสองประเทศไว้ร่วมกันได้

ในเมืองเชียงใหม่เองมีหมู่บ้านจัดสรรหลายโครงการที่ออกแบบโดยคำนึงถึงผู้สูงวัย บางแห่งมีบริการระดับโรงแรมในการดูแลผู้สูงอายุ หากท่านต้องการปลูกบ้านใหม่หรือปรับปรุงบ้านสำหรับผู้สูงอายุอาจปรึกษาสถาปนิกหรือผู้เชี่ยวชาญ เช่น SCG ซึ่งปัจจุบันได้มี Eldercare Solution บริการให้คำปรึกษาออกแบบและผลิตภัณฑ์สำหรับที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ แต่หากมีงบประมาณน้อยเราก็สามารถค่อยๆปรับปรุงบ้านเราได้เองโดยเริ่มจากพฤติกรรมของคนในบ้านเช่นการใช้ห้องน้ำอย่าให้เปียกจนพื้นลื่นเพราะผู้สูงอายุมักเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มบริเวณห้องน้ำเป็นประจำ ส่วนการปรับปรุงทางกายภาพของบ้านค่อยทำแบ่งเป็นส่วนๆ เช่น ห้องน้ำกรุด้วยวัสดุผิวไม่ลื่น ที่นั่งสำหรับอาบน้ำ โถส้วมเปลี่ยนจากนั่งยองเป็นนั่งราบ ประตูสามารถเปิดจากได้ภายนอก พื้นบ้านปรับปรุงให้มีระดับเดียวกันหรือทำทางลาดกรณีที่ผู้สูงอายุต้องใช้รถเข็น ห้องนอนเตียงของผู้สูงอายุควรออกเลือกใช้ให้พอดีกับความสูงของท่าน เพิ่มแสงสว่างจากธรรมชาติหรือแสงประดิษฐ์ให้เพียงพอทั้งกลางวันและกลางคืน ในส่วนของเมืองเรานั้นแม้จะเป็นเรื่องยากที่เข้าไปปรับเปลี่ยนเนื่องจากเกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมาย แต่พวกเราช่วยกันได้โดยเริ่มต้นจากพฤติกรรมง่ายๆ ของครอบครัวและตัวท่านเองเช่น เวลาไปห้างสรรพสินค้าอย่าไปจอดรถในที่สำหรับผู้พิการหรือผู้สูงอายุหากท่านไม่ได้มีพวกเขาเหล่านั้นมาด้วย ห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุผู้พิการหากยังทนไหวจริงๆก็อย่าเข้าไปใช้งาน เริ่มต้นง่ายๆ จากบ้านสู่เมืองในวันนี้เพื่อพวกเราเองในวันหน้าที่นับวันความชรายิ่งใกล้เข้ามา เชื่อเถอะครับความสูงวัยนั้นอยู่ไม่ไกล

มนต์ชัย บุญยะวิภากุล
IN FOCUS : Better City Better Living for Better Life (บทความตีพิมพ์นิตยสาร  Home Buyers Guide Chiangmai ฉบับเดือน กรกฎาคม 2559)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # เมื่อเด็กถาปัตย์ต้องเขียนรายงาน

     การเขียนรายงานกับนักศึกษาสถาปัตย์ ถ้าเปรียบเทียบคงเหมือนสุภาษิตทีว่า งูเหลือมแพ้เชือกกล้วย ต่อให้ออกแบบดี เขียนรูปสวย ทำ 3D ขั้นเทพ แต่ก็มักจะแพ้ทางการเขียนรายงาน เคยมีคนกล่าวไว้ว่า หากเขียนในสิ่งที่รู้ออกมาไม่ได้ก็แปลว่ายังไม่สามารถรู้เรื่องนั้นอย่างแท้จริง และนี่เองนำไปสู่กระบวนการที่ทางทีมอาจารย์ ต้องการให้นักศึกษารู้จักประมวลผลในสิ่งที่ตนเองทำ โดยเฉพาะเรื่องของโครงสร้าง การออกแบบอะไรสักอย่างก็ควรจะมีที่มาที่ไป แนวคิดจนถึงเทคนิคและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง  จากบทความที่แล้ว ( # TRUSS & SPACE FRAME ) ได้กล่าวถึงการจัดทำโมเดล เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างช่วงพาดกว้าง และ กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างที่ปรึกษากับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในการสร้างสรรค์ออกแบบ โครงสร้าง TRUSS และ SPACE  FRAME  ว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมอะไรได้บ้าง คราวนี้เรามาดูรายงานในกระบวนการศึกษาที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้จัดทำ โดยสามารถคลิก DOWNLOAD รายงานฉบับเต็มของแต่ละชิ้นงานได้ตาม Link ที่อยู่ด้านล่างครับ           1. โครงสร...

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # TRUSS & SPACE FRAME

หากประโยคติดหูที่ว่า “Great Power Comes With Great Responsibility” ( พลังอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง ) ใครฟังก็ร้อง อ่อ นี่มันประโยคเด็ดของ คุณลุงเบน ลุงของสไปเดอร์แมนนี่เอง ประโยคเด็ดที่ว่า “Construction คือ ดีไซน์ ” ก็จัดเป็นประโยคเด็ดที่เหล่านักศึกษาสถาปัตย์ ม.รังสิต ได้ยินจนคุ้นหู และรู้ได้ทันทีว่าเป็นประโยคเด็ดของ อ.ชาลี ไกรฤกษ์ และนั่นก็เป็นแนวคิดที่ผมและทีมอาจารย์ทางสาย Construction พยายามปลูกฝังการคิดให้กับเหล่านักศึกษาชั้นปีที่4   โดยงานในครั้งนี้ได้ให้นักศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ จัดทำแบบจำลองโครงสร้าง TRUSS และ SPACE   FRAME   ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่คิดว่าโครงสร้าง   TRUSS นำไปใช้กับหลังคาโรงงานหรือใช้คลุมช่วงพาดกว้างเท่านั้น   จริงแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปทรงอาคาร สร้างที่ว่าง หรือทำโครงสร้างสะพาน และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบได้อย่างมากมาย และนี่เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของนักศึกษาที่นำมาเผยแพร่ครับ รูปบน: (รูป1) การนำ Space Frame มาสร้างพื้นที่ปกคลุมขนาดใหญ่โดยใช้เทคนิคการแผ่ออกจากฐาน น้ำหนักโค...

Mega-Scale Building Structural Systems (ARC348/2559)

เนื้อหาและรายละเอียดการสอนวิชา ARC348 Mega-Scale Building Structural Systems คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ช่วงพาดกว้าง และปานกลาง โดยใช้โครงสร้างผสมผสาน  เหล็ก และคอนกรีตเสริมเหล็ก การใช้คอนกรีตอัดแรงในการก่อสร้าง ระบบการก่อสร้างโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป ศึกษารายละเอียด และคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง การใช้เหล็กในการก่อสร้าง การต่อโครงสร้างเหล็ก วิธีการป้องกัน การผุกร่อน และการป้องกันไฟ Building construction focusing on steel and steel reinforced concrete in medium-long span building construction, pre-stressed concrete, pre-fabrication technology.  Study use of steel in building construction, building structures, joints and details, steel treatments and fire protections.   หัวข้องาน Assignment 1 . Long Span "GO" คลิก   Project 1. Experimental Design Truss & Space Frame คลิก Final Project : Bamboo Structure คลิก เอกสารประกอบการสอน Architects' Data Third Edition  คลิก เอกสารประกอบการสอน...