ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ABL# Lecture Series


ABL# Architect/Business/Leadership
          Lecture Series วิชาชีพ ธุรกิจ และ ภาวะผู้นำ แก่นักศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม จากแรงบันดาลใจที่ได้เห็นผู้คนในแวดวงธุรกิจที่มักเข้าอบรมด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creative) เพื่อต่อยอดทางธุรกิจ และพบว่าเจ้าของธุรกิจหลายท่านมักมีนักออกแบบหรือสถาปนิกเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อต่อยอดธุรกิจ Lecture Series ABL# จึงปรับกระบวนการคิดใหม่ จะดีกว่าไหมถ้านักศึกษาด้านการออกแบบของเราได้เรียนรู้เรื่องธุรกิจเพื่อนำไปต่อยอดให้กับความคิดสร้างสรรค์และเข้าใจธุรกิจเตรียมตัวให้พร้อมแบบก้าวกระโดดตั้งแต่วันนี้เพื่อให้อยู่รอดในโลกของธุรกิจและโลกของความเป็นจริง

INFORMATION
26:08:59        Why? Architect “สถาปนิกกับบทบาทที่ปรึกษาทางธุรกิจ”  คุณมัลลิกา จงศิริ
09:09:59        "วัฒนธรรมสร้างชาติ โอกาสพัฒนาชาติไทย" คุณสิงห์ชัย ทุ่งทอง
16:09:59        โอกาสทางธุรกิจของวิชาชีพสถาปนิกในยุคเสรีทางการค้า AEC” คุณอรรจน์ สีหะอำไพ
23:09:59        "ธุรกิจก่อสร้างโตได้อย่างไร กรณีศึกษาบริษัท ฤทธา จำกัด" คุณกรกนก เชาว์ปรีชา
30:09:59        "Social Enterprise นวัตกรรมสังคม ธุรกิจเพื่อสังคม"
14:10:59        “ทิศทางและจุดยืนของสถาปนิกในธุรกิจอสังหา” วิทยากรจาก
                      บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)
21:10:59        "กฎหมายต้องใส่ใจ กรณีศึกษาข้อพิพาทเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร"  
                      คุณวัชระ ชอบแต่ง


TIME/PLACE 10.00-12.00 มหาวิทยาลัยรังสิต อาคาร 11 ห้อง 101


SPEAKER
.มัลลิกา จงสิริ : หัวหน้าหลักสูตรนวัตกรรมการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
.อรรจน์ สีหะอำไพ : ที่ปรึกษาด้านพัฒนาธุรกิจและองค์กร (Business & Organization Executive Consultant) 
.สิงห์ชัย ทุ่งทอง : อดีต ส.. จังหวัดอุทัยธานี
คุณธนบูรณ์ สมบูรณ์ : Founder & Creative Director at CreativeMove
คุณกรกนก เชาว์ปรีชา : Assistant to President บริษัท ฤทธา จำกัด
คุณวัชระ ชอบแต่ง: ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง

Director's talk
.มนต์ชัย บุญยะวิภากุล
ผศ.กฤตพร ลาภพิมล
ARC 594 Professional Practice (หลักปฏิบัติวิชาชีพ)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # เมื่อเด็กถาปัตย์ต้องเขียนรายงาน

     การเขียนรายงานกับนักศึกษาสถาปัตย์ ถ้าเปรียบเทียบคงเหมือนสุภาษิตทีว่า งูเหลือมแพ้เชือกกล้วย ต่อให้ออกแบบดี เขียนรูปสวย ทำ 3D ขั้นเทพ แต่ก็มักจะแพ้ทางการเขียนรายงาน เคยมีคนกล่าวไว้ว่า หากเขียนในสิ่งที่รู้ออกมาไม่ได้ก็แปลว่ายังไม่สามารถรู้เรื่องนั้นอย่างแท้จริง และนี่เองนำไปสู่กระบวนการที่ทางทีมอาจารย์ ต้องการให้นักศึกษารู้จักประมวลผลในสิ่งที่ตนเองทำ โดยเฉพาะเรื่องของโครงสร้าง การออกแบบอะไรสักอย่างก็ควรจะมีที่มาที่ไป แนวคิดจนถึงเทคนิคและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง  จากบทความที่แล้ว ( # TRUSS & SPACE FRAME ) ได้กล่าวถึงการจัดทำโมเดล เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างช่วงพาดกว้าง และ กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างที่ปรึกษากับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในการสร้างสรรค์ออกแบบ โครงสร้าง TRUSS และ SPACE  FRAME  ว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมอะไรได้บ้าง คราวนี้เรามาดูรายงานในกระบวนการศึกษาที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้จัดทำ โดยสามารถคลิก DOWNLOAD รายงานฉบับเต็มของแต่ละชิ้นงานได้ตาม Link ที่อยู่ด้านล่างครับ           1. โครงสร...

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # TRUSS & SPACE FRAME

หากประโยคติดหูที่ว่า “Great Power Comes With Great Responsibility” ( พลังอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง ) ใครฟังก็ร้อง อ่อ นี่มันประโยคเด็ดของ คุณลุงเบน ลุงของสไปเดอร์แมนนี่เอง ประโยคเด็ดที่ว่า “Construction คือ ดีไซน์ ” ก็จัดเป็นประโยคเด็ดที่เหล่านักศึกษาสถาปัตย์ ม.รังสิต ได้ยินจนคุ้นหู และรู้ได้ทันทีว่าเป็นประโยคเด็ดของ อ.ชาลี ไกรฤกษ์ และนั่นก็เป็นแนวคิดที่ผมและทีมอาจารย์ทางสาย Construction พยายามปลูกฝังการคิดให้กับเหล่านักศึกษาชั้นปีที่4   โดยงานในครั้งนี้ได้ให้นักศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ จัดทำแบบจำลองโครงสร้าง TRUSS และ SPACE   FRAME   ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่คิดว่าโครงสร้าง   TRUSS นำไปใช้กับหลังคาโรงงานหรือใช้คลุมช่วงพาดกว้างเท่านั้น   จริงแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปทรงอาคาร สร้างที่ว่าง หรือทำโครงสร้างสะพาน และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบได้อย่างมากมาย และนี่เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของนักศึกษาที่นำมาเผยแพร่ครับ รูปบน: (รูป1) การนำ Space Frame มาสร้างพื้นที่ปกคลุมขนาดใหญ่โดยใช้เทคนิคการแผ่ออกจากฐาน น้ำหนักโค...

Mega-Scale Building Structural Systems (ARC348/2559)

เนื้อหาและรายละเอียดการสอนวิชา ARC348 Mega-Scale Building Structural Systems คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ช่วงพาดกว้าง และปานกลาง โดยใช้โครงสร้างผสมผสาน  เหล็ก และคอนกรีตเสริมเหล็ก การใช้คอนกรีตอัดแรงในการก่อสร้าง ระบบการก่อสร้างโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป ศึกษารายละเอียด และคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง การใช้เหล็กในการก่อสร้าง การต่อโครงสร้างเหล็ก วิธีการป้องกัน การผุกร่อน และการป้องกันไฟ Building construction focusing on steel and steel reinforced concrete in medium-long span building construction, pre-stressed concrete, pre-fabrication technology.  Study use of steel in building construction, building structures, joints and details, steel treatments and fire protections.   หัวข้องาน Assignment 1 . Long Span "GO" คลิก   Project 1. Experimental Design Truss & Space Frame คลิก Final Project : Bamboo Structure คลิก เอกสารประกอบการสอน Architects' Data Third Edition  คลิก เอกสารประกอบการสอน...