ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ย้อนรอยวันวาน 4+1 แม่กำปองและอ้ายเชิดในความทรงจำ

"ย้อนรอยวันวาน 4+1 แม่กำปองและอ้ายเชิดในความทรงจำ"

19 กันยายน 2554 เริ่มต้นจากเมืองเชียงใหม่ วันนี้ผมมีแผนที่จะเดินทางขึ้นดอยแม่กำปอง กิ่งอำเภอแม่ออน ซึ่งจะเป็นหนึ่งในชุมชนที่จะพานักศึกษามาเรียนรู้วิถีชุมชนในโครงการ 4+1 สำนึกรักบ้านเกิด Season2 โดยแผนการของผมในวันนี้คือไปสำรวจและติดต่อที่พักให้กับเหล่านนักศึกษากว่ายี่สิบชีวิตที่จะมาทำกิจกรรมร่วมกันในเดือนถัดไป



แม่กำปอง หมู่บ้านเล็กๆ ในหุบเขา

ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน ตอนที่เรียนจบมาเป็นสถาปนิกมือใหม่ แถมยังสอบใบประกอบวิชาชีพได้ในทันที จำได้ว่าเป็นคนที่มีอัตตา มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง เวลาเจอเจ้าของงาน เจอลูกค้าก็มักจะนำความคิดที่เราเรียนมาไปครอบเขาทั้งหมด เวลาโดนโต้แย้งลึกๆในใจก็มักจะคิดว่า เห้ยนี่เราเรียนมาทางด้านนี้นะ เราเป็น"สถาปนิก"จะมารู้ดีกว่าเราได้ยังไง แต่เชื่อไหมครับว่าคนส่วนใหญ่ไม่รู้จักสถาปนิก สถาปนิกคืออะไรทำอะไรอ้าวคนที่สร้างบ้านไม่ใช่วิศวกรเหรอ? (จนสมาคมสถาปนิก ยังต้องพิมพ์หนังสือมาแจกให้รู้ว่าสถาปนิกคือใคร) แต่เชื่อไหมครับว่าสิ่งที่ทำให้อัตตา และเปลี่ยนความรู้ที่เราเคยมี ความเชื่อที่เราเคยเชื่อ ก็คือการเดินทาง การเดินทางที่ไปพบผู้คนมากขึ้น พบสถานที่ต่างๆมากขึ้น พบวิถีชีวิต วัฒนธรรม และ ภูมิประเทศที่แตกต่าง และการเดินทางขึ้นดอยแม่กำปองของผมในวันนี้นอกจากทำให้ผมพบหมู่บ้านเล็กๆ ที่สวยงามท่ามกลางหุบเขา ผมยังได้พบกับนายช่างใหญ่ของหมู่บ้านที่ชื่อว่า "อ้ายเชิด"


เดินทางมาสำรวจที่ทาง


น้ำตกแม่กำปอง น้ำตกในหมู่บ้าน

"อ้ายเชิด" เป็นนายช่างใหญ่ประจำหมู่บ้าน "อ้ายเชิด" ไม่ได้จบปริญญาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่เรียนรู้จากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมที่เขาอยู่มาตั้งแต่เกิด
"อ้ายเชิด" สามารถออกแบบและสร้างบ้านได้อย่างสวยงาม ประโยชน์ใช้สอยก็ดีเยี่ยม
ในขณะที่เหล่าสถาปนิกจบใหม่ยังไม่เคยได้ทำได้สร้างจริงจังสักหลัง
"อ้ายเชิด" มีลูกค้า มีผู้ว่าจ้าง เป็นคนในหมู่บ้านที่อยู่มาแต่ดั้งเดิม จนถึงเศรษฐีระดับร้อยล้าน พันล้าน จากในเมืองหลายคนที่ประทับใจและต้องการปลูกบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้ ทุกคนล้วนไว้วางใจให้ "อ้ายเชิด" ก่อร่างสร้างบ้านให้กับเขา จนไปถึงการดูแลและช่วยซ่อมแซมบ้านไปตลอดอายุการใช้งาน
ในขณะที่เหล่าสถาปนิกจบใหม่จากในเมืองจะหางานและสร้างความไว้วางใจให้ลูกค้าได้อย่างไร
"อ้ายเชิด" สร้างบ้านได้ตรงตามใจเจ้าของบ้านแม้จะไม่มีแบบ ทุกอย่างอาศัยการพูดคุยกับเจ้าของบ้าน พูดคุยอย่างนอบน้อมและรับฟังเจ้าของบ้าน ถ้าเจ้าของบ้านหาวัสดุต่างๆมาให้ "อ้ายเชิด" ก็สามารถเอามาดัดแปลงเป็นบ้านตรงความต้องการของลูกค้าได้หมด
ในขณะที่สถาปนิกจบใหม่อาจยังคุยกับลูกค้าไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจเรื่องงบประมาณ บางคนอาจร้อนวิชาเอาความคิดตนเข้าครอบ
"อ้ายเชิด" ก่อสร้างบ้านได้โดยกลมกลืนกับธรรมชาติ ทำลายธรรมชาติน้อยที่สุด ไม่มีการตัดภูเขาระเบิดหินขุดดินทิ้งเหมือนที่สถาปนิกจากในเมืองชอบทำกัน
"อ้ายเชิด" ไม่เคยลืมในเรื่องทางน้ำที่ไหลลงมาจากภูเขา น้ำที่สามารถพุดออกมาได้จากในดินหรือน้ำที่ซึมผ่านร่องหิน ในขณะที่สถาปนิกหลายคนอาจไม่รู้ หลงลืม หรือละเลยเรื่องพวกนี้
"อ้ายเชิด" เข้าใจ รู้เรื่อง วัสดุและโครงร้างเป็นอย่างดี จากเดิมที่บ้านในบริเวณหมู่บ้านเป็นโครงสร้างไม้ พอวันนึงต้องมาทำโครงสร้างคอนกรีตเขาก็ทำได้ มีเจ้าของบ้านหลังนึงไม่อยากได้โครงหลังคาไม้ อยากได้เป็นโครงเหล็กเขาและทีมงานก็ทำออกมาได้เป็นอย่างดี แม้กระทั่งเจ้าของบ้านอีกหลังอยากได้ก้อนอิฐที่ทำจากดินในท้องถิ่น "อ้ายเชิด" ก็ทำออกมาได้ ในขณะที่เหล่านักเรียนสถาปัตย์หลายคน ออกแบบรูปทรงแปลกๆ ต้องการจะแหวกแนว แต่ไม่เข้าใจเรื่องโครงสร้างและวัสดุ ว่าจะสร้างสิ่งที่เขาออกแบบขึ้นมาได้อย่างไร
"อ้ายเชิด" มีลูกน้องอยู่ คน แต่สามารถบริหารจัดการ สร้างบ้านไปสองสามหลังพร้อมกันได้
ในระหว่างที่สถาปนิกจบใหม่ไม่ได้ถูกปลูกฝังให้ทำงานเป็นทีมหรือรู้จักบริหารงานเองได้
"อ้ายเชิด" ไม่รับงานเดินระบบไฟฟ้า เพราะรู้ว่าเป็นงานที่ตนเองไม่ถนัด แต่อ้ายเชิดประสานงานกับช่างไฟฟ้าได้ ว่าควรจะเข้ามาทำงานตอนไหน รู้จักเตรียมจุด เตรียมตำแหน่ง สำหรับติดตั้งระบบไฟ
ในขณะที่เหล่านักเรียนสถาปัตย์แค่ให้เขียนกราฟฟิก ยังไม่รู้อะไรต้องมีบ้างเกี่ยวกับงานไฟสำหรับบ้านหนึ่งหลัง
"อ้ายเชิด" ใช้โทรศัพท์โนเกียเครื่องละพันกว่าบาท ไม่ต้องการเครื่องมือสื่อสารโก้หรูต่อระบบ 3G เหมือนสถาปนิกในเมือง แต่ก็มีชีวิตที่มีความสุขกับครอบครัวและมีความรักในงานของตนเอง
"อ้ายเชิด" มีร้านกาแฟและโฮมสเตย์ที่อยู่บนดอยและมีวิวสวยที่สุดในหมู่บ้าน แต่สถาปนิกจบใหม่......มีอะไรบ้างหรือยัง


"อ้ายเชิด" นายช่างประจำหมู่บ้าน
พูดคุยจะขอพานักเรียนมาเดินตาม

ผลงานของอ้ายเชิด



บ้านแบบที่ประยุกต์ใช้คอนกรีตและโครงหลังคาเหล็ก

อิฐแต่ละก้อนหล่อขึ้นมาโดยใช้ดินในหมู่บ้าน



วิวจากร้านกาแฟ มองเห็นหมู่บ้าน มองทะลุภูเขาไปคือเชียงใหม่


ห้องพักในโฮมสเตย์

บ้านข้องอ้ายเขาละครับ

ที่เขียนถึง"อ้ายเชิด" มาทั้งหมด ไม่ได้บอกให้เหล่านักเรียนหรือว่าที่สถาปนิกทั้งหลายต้องไปอยู่บนดอยหรือผันตัวไปทำงานก่อสร้าง หรือไม่ให้สร้างสรรค์งานที่แหวกแนว เพียงแต่อยากจะสื่อให้เห็นว่านี่คือสิ่งที่พวกเราและระบบการศึกษาละเลย หลายครั้งเรียนแต่จากตำราที่มาจากเมืองนอก หรือ เอาแต่สร้างรูปทรงมันส์ๆ ตามที่เห็นในแมกกาซีน ไม่รู้ว่าชีวิตจริงเป็นอย่างไร หรือเมื่อออกไปทำวิชาชีพก็ละเลยเรื่องวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และบริบท ที่ควรจะเป็น
นี่ละครับคือหัวใจของโครงการ 4+1 สำนึกรักบ้านเกิด ที่ต้องการให้นักศึกษาได้เดินทาง เดินทางไปพบวิถีของชุมชนตั้งแต่ระดับรากหญ้า เดินทางไปสัมผัสธรรมชาติ วัฒนธรรม เดินทางไปพบเจอผู้คน คนที่ไม่ต้องเป็นนายช่างเหมือน"อ้ายเชิด" ก็ได้ครับ แค่ไปรับฟังความคิดเห็นจากเขาก็เป็นพอ สิ่งพวกนี้ละครับจะเป็นฐานที่ดีให้กับทัศนคติในการทำงานวิชาชีพสถาปัตย์ต่อไปในอนาคต ตั้งแต่บ้านหลังเล็กๆ ไปจนถึงตึกสูงเสียดฟ้า
พร้อมกันหรือยังครับสำหรับสำหรับการเดินทาง ^_^

แม้ปัจจุบันจะผ่านมาหลายปีแล้ว แต่แม่กำปองในปัจจุบันก็ยังคงความน่ารักเงียบสงบมีมนต์เสน่ห์ไม่เสื่อมคลาย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # เมื่อเด็กถาปัตย์ต้องเขียนรายงาน

     การเขียนรายงานกับนักศึกษาสถาปัตย์ ถ้าเปรียบเทียบคงเหมือนสุภาษิตทีว่า งูเหลือมแพ้เชือกกล้วย ต่อให้ออกแบบดี เขียนรูปสวย ทำ 3D ขั้นเทพ แต่ก็มักจะแพ้ทางการเขียนรายงาน เคยมีคนกล่าวไว้ว่า หากเขียนในสิ่งที่รู้ออกมาไม่ได้ก็แปลว่ายังไม่สามารถรู้เรื่องนั้นอย่างแท้จริง และนี่เองนำไปสู่กระบวนการที่ทางทีมอาจารย์ ต้องการให้นักศึกษารู้จักประมวลผลในสิ่งที่ตนเองทำ โดยเฉพาะเรื่องของโครงสร้าง การออกแบบอะไรสักอย่างก็ควรจะมีที่มาที่ไป แนวคิดจนถึงเทคนิคและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง  จากบทความที่แล้ว ( # TRUSS & SPACE FRAME ) ได้กล่าวถึงการจัดทำโมเดล เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างช่วงพาดกว้าง และ กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างที่ปรึกษากับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในการสร้างสรรค์ออกแบบ โครงสร้าง TRUSS และ SPACE  FRAME  ว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมอะไรได้บ้าง คราวนี้เรามาดูรายงานในกระบวนการศึกษาที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้จัดทำ โดยสามารถคลิก DOWNLOAD รายงานฉบับเต็มของแต่ละชิ้นงานได้ตาม Link ที่อยู่ด้านล่างครับ           1. โครงสร...

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # TRUSS & SPACE FRAME

หากประโยคติดหูที่ว่า “Great Power Comes With Great Responsibility” ( พลังอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง ) ใครฟังก็ร้อง อ่อ นี่มันประโยคเด็ดของ คุณลุงเบน ลุงของสไปเดอร์แมนนี่เอง ประโยคเด็ดที่ว่า “Construction คือ ดีไซน์ ” ก็จัดเป็นประโยคเด็ดที่เหล่านักศึกษาสถาปัตย์ ม.รังสิต ได้ยินจนคุ้นหู และรู้ได้ทันทีว่าเป็นประโยคเด็ดของ อ.ชาลี ไกรฤกษ์ และนั่นก็เป็นแนวคิดที่ผมและทีมอาจารย์ทางสาย Construction พยายามปลูกฝังการคิดให้กับเหล่านักศึกษาชั้นปีที่4   โดยงานในครั้งนี้ได้ให้นักศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ จัดทำแบบจำลองโครงสร้าง TRUSS และ SPACE   FRAME   ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่คิดว่าโครงสร้าง   TRUSS นำไปใช้กับหลังคาโรงงานหรือใช้คลุมช่วงพาดกว้างเท่านั้น   จริงแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปทรงอาคาร สร้างที่ว่าง หรือทำโครงสร้างสะพาน และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบได้อย่างมากมาย และนี่เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของนักศึกษาที่นำมาเผยแพร่ครับ รูปบน: (รูป1) การนำ Space Frame มาสร้างพื้นที่ปกคลุมขนาดใหญ่โดยใช้เทคนิคการแผ่ออกจากฐาน น้ำหนักโค...

Mega-Scale Building Structural Systems (ARC348/2559)

เนื้อหาและรายละเอียดการสอนวิชา ARC348 Mega-Scale Building Structural Systems คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ช่วงพาดกว้าง และปานกลาง โดยใช้โครงสร้างผสมผสาน  เหล็ก และคอนกรีตเสริมเหล็ก การใช้คอนกรีตอัดแรงในการก่อสร้าง ระบบการก่อสร้างโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป ศึกษารายละเอียด และคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง การใช้เหล็กในการก่อสร้าง การต่อโครงสร้างเหล็ก วิธีการป้องกัน การผุกร่อน และการป้องกันไฟ Building construction focusing on steel and steel reinforced concrete in medium-long span building construction, pre-stressed concrete, pre-fabrication technology.  Study use of steel in building construction, building structures, joints and details, steel treatments and fire protections.   หัวข้องาน Assignment 1 . Long Span "GO" คลิก   Project 1. Experimental Design Truss & Space Frame คลิก Final Project : Bamboo Structure คลิก เอกสารประกอบการสอน Architects' Data Third Edition  คลิก เอกสารประกอบการสอน...