ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2015

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # เมื่อเด็กถาปัตย์ต้องเขียนรายงาน

     การเขียนรายงานกับนักศึกษาสถาปัตย์ ถ้าเปรียบเทียบคงเหมือนสุภาษิตทีว่า งูเหลือมแพ้เชือกกล้วย ต่อให้ออกแบบดี เขียนรูปสวย ทำ 3D ขั้นเทพ แต่ก็มักจะแพ้ทางการเขียนรายงาน เคยมีคนกล่าวไว้ว่า หากเขียนในสิ่งที่รู้ออกมาไม่ได้ก็แปลว่ายังไม่สามารถรู้เรื่องนั้นอย่างแท้จริง และนี่เองนำไปสู่กระบวนการที่ทางทีมอาจารย์ ต้องการให้นักศึกษารู้จักประมวลผลในสิ่งที่ตนเองทำ โดยเฉพาะเรื่องของโครงสร้าง การออกแบบอะไรสักอย่างก็ควรจะมีที่มาที่ไป แนวคิดจนถึงเทคนิคและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง  จากบทความที่แล้ว ( # TRUSS & SPACE FRAME ) ได้กล่าวถึงการจัดทำโมเดล เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างช่วงพาดกว้าง และ กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างที่ปรึกษากับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในการสร้างสรรค์ออกแบบ โครงสร้าง TRUSS และ SPACE  FRAME  ว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมอะไรได้บ้าง คราวนี้เรามาดูรายงานในกระบวนการศึกษาที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้จัดทำ โดยสามารถคลิก DOWNLOAD รายงานฉบับเต็มของแต่ละชิ้นงานได้ตาม Link ที่อยู่ด้านล่างครับ           1. โครงสร...

เพราะ Construction คือ ดีไซน์ # TRUSS & SPACE FRAME

หากประโยคติดหูที่ว่า “Great Power Comes With Great Responsibility” ( พลังอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง ) ใครฟังก็ร้อง อ่อ นี่มันประโยคเด็ดของ คุณลุงเบน ลุงของสไปเดอร์แมนนี่เอง ประโยคเด็ดที่ว่า “Construction คือ ดีไซน์ ” ก็จัดเป็นประโยคเด็ดที่เหล่านักศึกษาสถาปัตย์ ม.รังสิต ได้ยินจนคุ้นหู และรู้ได้ทันทีว่าเป็นประโยคเด็ดของ อ.ชาลี ไกรฤกษ์ และนั่นก็เป็นแนวคิดที่ผมและทีมอาจารย์ทางสาย Construction พยายามปลูกฝังการคิดให้กับเหล่านักศึกษาชั้นปีที่4   โดยงานในครั้งนี้ได้ให้นักศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ จัดทำแบบจำลองโครงสร้าง TRUSS และ SPACE   FRAME   ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่คิดว่าโครงสร้าง   TRUSS นำไปใช้กับหลังคาโรงงานหรือใช้คลุมช่วงพาดกว้างเท่านั้น   จริงแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปทรงอาคาร สร้างที่ว่าง หรือทำโครงสร้างสะพาน และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบได้อย่างมากมาย และนี่เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของนักศึกษาที่นำมาเผยแพร่ครับ รูปบน: (รูป1) การนำ Space Frame มาสร้างพื้นที่ปกคลุมขนาดใหญ่โดยใช้เทคนิคการแผ่ออกจากฐาน น้ำหนักโค...

ย้อนรอยวันวาน 4+1 แม่กำปองและอ้ายเชิดในความทรงจำ

"ย้อนรอยวันวาน 4+1 แม่กำปองและอ้ายเชิดในความทรงจำ" 19  กันยายน  2554  เริ่มต้นจากเมืองเชียงใหม่ วันนี้ผมมีแผนที่จะเดินทางขึ้นดอยแม่กำปอง กิ่งอำเภอแม่ออน ซึ่งจะเป็นหนึ่งในชุมชนที่จะพานักศึกษามาเรียนรู้วิถีชุมชนในโครงการ  4+1  สำนึกรักบ้านเกิด  Season2  โดยแผนการของผมในวันนี้คือไปสำรวจและติดต่อที่พักให้กับเหล่านนักศึกษากว่ายี่สิบชีวิตที่จะมาทำกิจกรรมร่วมกันในเดือนถัดไป แม่กำปอง หมู่บ้านเล็กๆ ในหุบเขา ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน ตอนที่เรียนจบมาเป็นสถาปนิกมือใหม่ แถมยังสอบใบประกอบวิชาชีพได้ในทันที จำได้ว่าเป็นคนที่มีอัตตา มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง เวลาเจอเจ้าของงาน เจอลูกค้าก็มักจะนำความคิดที่เราเรียนมาไปครอบเขาทั้งหมด เวลาโดนโต้แย้งลึกๆในใจก็มักจะคิดว่า เห้ยนี่เราเรียนมาทางด้านนี้นะ เราเป็น"สถาปนิก"จะมารู้ดีกว่าเราได้ยังไง แต่เชื่อไหมครับว่าคนส่วนใหญ่ไม่รู้จักสถาปนิก สถาปนิกคืออะไร ?  ทำอะไร ?  อ้าวคนที่สร้างบ้านไม่ใช่วิศวกรเหรอ ? ( จนสมาคมสถาปนิก ยังต้องพิมพ์หนังสือมาแจกให้รู้ว่าสถาปนิกคือใคร)   แต่เชื่อไหมครับว่าสิ่งท...

ทีมงานรับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 นับเป็นโอกาสอันดี ทางจังหวัดสระแก้วได้เชิญทีมงานอาจารย์และนักศึกษาเข้ารับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณจาก ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว จากการนำนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมออกออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ และองค์ประกอบอาคารจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก ณ บริเวณด่านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ย้อนไปเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2557 จากการร่วมลงนามความร่วมมือในการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ และองค์ประกอบอาคารจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก ณ บริเวณด่านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ระหว่าง จังหวัดสระแก้วและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศให้คงความสวยงาม ตามแบบศิลปวัฒนธรรมไทย ที่มีความเป็นระเบียบ เรียบร้อย สวยงาม ตามแบบชายแดน และให้สอดคล้องต่อวิถีความเป็นอยู่ของชาวไทย และกัมพูชา รวมทั้งยังเป็นการพัฒนาพื้นที่ด่านชายแดนไทยกัมพูชา ให้มีความเหมาะสม สามารถรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มมากขึ้น และให้สอดคล้องต่อการแข่งเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอีกด้วย